การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดีย เรื่อง “การนวดทารก” สำหรับผู้ดูแลเด็กในโครงการศูนย์ศึกษาเด็กเล็ก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Keywords:
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์, มัลติมีเดีย, การนวดทารก, ผู้ดูแลเด็ก, Multimedia Electronic Book, E-book Infant Massage, Infant CaregiversAbstract
บทคัดย่อ
หนังสืออิเล็กโทรนิกส์ มัลติมีเดีย เป็นสื่อประสมที่มีความหลากหลายของสื่อประเภทต่าง ๆ รวมกัน เป็นสื่อเดียว ซึ่งตอบสนองต่อการเรียนรู้ตามศักยภาพ ความแตกต่างระหว่างบุคคล ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ ด้วยตนเอง การวิจัยเชิงพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มัลติมีเดีย เรื่อง “การนวดทารก” สำหรับผู้ดูแลเด็ก และศึกษาความคิดเห็นของผู้ดูแลเด็กต่อการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มัลติมีเดีย เรื่อง “การนวดทารก”
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ดูแลเด็ก ในโครงการศูนย์ศึกษาเด็กเล็ก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 20 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยเป็นผู้ที่สมัครใจเรียนด้วยตนเอง จากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดีย เรื่อง “การนวดทารก” เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มัลติมีเดีย เรื่อง “การนวดทารก” ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นอย่างเป็นระบบตามหลักการ สร้างสื่อของชัยยศ เรืองสุวรรณ (2533) และนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและการออกแบบ ด้วยแบบฟอร์มการประเมินคุณภาพสื่อจากนั้นผู้วิจัยนำหนังสือไปทดลองใช้ตามขั้นตอนการประเมิน ประสิทธิภาพสื่อของกรองกาญจน์ อรุณรัตน์ (2536)โดยนำไปให้ผู้ดูแลเด็กซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่าง ศึกษาด้วยตนเองจากหนังสือ 2) แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มัลติมีเดีย เรื่อง “การนวดทารก” ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญในการประเมินประสิทธิภาพ พบว่า หนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ มัลติมีเดีย เรื่อง “การนวดทารก” มีความเหมาะสมทั้งด้านเนื้อหา และการออกแบบ มีค่าเฉลี่ย 4.76 และ 4.46 โดยมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
ผลการวิจัย พบว่า
ระดับความคิดเห็นของผู้ดูแลเด็กต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มัลติมีเดีย เรื่อง “การนวดทารก” สำหรับการศึกษาด้วยตนเองนั้น มีความเหมาะสมทั้งด้านเนื้อหาและการออกแบบอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยโดยรวม 4.45
จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มัลติมีเดีย เรื่อง “การนวดทารก” มีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อผู้ดูแลเด็กที่จะใช้ในการศึกษาด้วยตนเอง และควรมีการพัฒนา หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มัลติมีเดีย ในเรื่องอื่น ๆ ต่อไป
คำสำคัญ: หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มัลติมีเดีย การนวดทารก ผู้ดูแลเด็ก
Abstracts
The multimedia electronic book is a combination of various multimedia. It responds to the learning ability and inter-personal differences of the learners as well as supporting self –directed learning. The objective of this developmental research was to develop the multimedia electronic book on infant massage for infant caregivers and caregivers’ opinion on the book. The purposive sampling was used in this study. There were 20 family caregivers of infants who attended the Child Study Center, Faculty of Nursing, Chiang Mai University who participated in learning infant massage using the multimedia electronic book. The instrument used were; 1) multimedia electronic book on infant massage which the developed a system that was based on the concept of media development addressed by Chiyot Ruangsuwan (1990). The tool was tested for content validity which was designed by the experts based on the media evaluation form. Consequently these multimedia books were given to infant caregivers to test for its efficacy developed by Krongkarn Arunrutana (1993), 2) the opinion questionnaire regarding the infant massage multimedia electronic book. The book was approved by experts with higher efficiency than the set up criteria as it provided suitable content and design with mean scores of 4.76 and 4.46
The results of study
The level of the caregiver’s opinion to the infant massage multimedia electronic book for self-study was suitable in content and design at a high level having mean score of 4.45
The study has showns that the development of the infant massage multimedia electronic book is appropriate and beneficial to the infant caregivers for self-study. Therefore, this kind of book should be continuously developed in other related child care issues.
Key words: Multimedia Electronic Book, E-book Infant Massage, Infant Caregivers
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว