ผลของการอบรมการสื่อสารเพื่อพัฒนาพฤติกรรม และสังคมต่อความรู้และการปฏิบัติการสื่อสารในชุมชนในบุคลากร สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Keywords:
การสื่อสารเพื่อพัฒนาพฤติกรรมและสังคม, ความรู้, การนำไปใช้, Communication for Development, C4D, Knowledge, UtilizingAbstract
บทคัดย่อ
การสื่อสารเพื่อการพัฒนาพฤติกรรมและสังคม เป็นกระบวนการที่ใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายกว่า วิธีการสื่อสารแบบดั้งเดิม โดยเน้นการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมของคนในชุมชนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมไปในทางดีขึ้น การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการอบรมการสื่อสารเพื่อ พัฒนาพฤติกรรมและสังคมต่อความรู้และการปฏิบัติการสื่อสารในชุมชนในบุคลากรสังกัดองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เป็นผู้ที่ปฏิบัติงานด้านการจัดกิจกรรมในชุมชน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย 8 แห่ง จำนวน 29 รายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแผนการอบรม คู่มือการใช้การสื่อสารเพื่อพัฒนาพฤติกรรมและสังคมที่พัฒนาโดยองค์การยูนิเซฟ และคณะพยาบาลศาสตร์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดความรู้เรื่องการสื่อสารเพื่อพัฒนาพฤติกรรมและสังคม แบบประเมิน การปฏิบัติการเลือกใช้กลยุทธ์การสื่อสารและการใช้การสื่อสารเพื่อพัฒนาพฤติกรรมและสังคม ซึ่งผ่าน การตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดความรู้ แบบประเมินการปฏิบัติการ เลือกใช้กลยุทธิ์การสื่อสารและการใช้การสื่อสารเพื่อพัฒนาพฤติกรรมและสังคม เท่ากับ 0.71, 0.84 และ 0.87 ตามลำดับร่วมกับการทำสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา เปรียบเทียบความ แตกต่างของค่าเฉลี่ยความรู้โดยใช้สถิติอโนวา (ANOVA) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการปฏิบัติโดยใช้สถิติทีที่ไม่อิสระ (paired t test) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
ภายหลังการอบรม กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้และการปฏิบัติการใช้การสื่อสารเพื่อพัฒนา พฤติกรรมและสังคมสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.1) และผู้เข้าอบรมมีความเห็น ว่าการสื่อสารเพื่อพัฒนาพฤติกรรมและสังคมสามารถนำไปใช้ในการดำเนินงานโครงการในชุมชนได้ ดังนั้นควรมีการอบรมเผยแพร่ความรู้การสื่อสารเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและสังคมไปยังหน่วยงานอื่น ๆ ในชุมชนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ: การสื่อสารเพื่อพัฒนาพฤติกรรมและสังคม ความรู้ การนำไปใช้
Abstract
Communication for Development (C4D) is a process using more communication strategies than traditional communication and focused on participation of people in a community to promote better behavioral changes. This study aimed to study the effects of C4D workshop on knowledge and practices of communication among the local administration personnel. The samples were purposively selected which consisted of 29 community workers from 8 local administration organizations in Chiang Rai Province. The research instruments composed of the 2-session of workshop and the C4D handbook which were developed by UNICEF and the research team. Data were collected by using questionnaire including general information, knowledge on C4D, and practices on communication strategies and use of C4D. Focus Group discussion was also done to gather more information as a qualitative data. Content validity of the questionnaire was approved by experts and the reliability of knowledge on C4D, and practices on communication strategies and using of C4D were 0.71, 0.84, and 0.87 respectively. Data were analyzed by using descriptive statistics, paired t-test and content analysis.
The results of study
After the C4D workshop, the participants have statistic significant higher score on knowledge on C4D and practice on using C4D than before the workshop (p < 0.01). The participants informed that C4D can be used in their community practices. Therefore, C4D workshop is needed for people who work in community in order to enhance better behavior change effectively.
Key words: Communication for Development, C4D, Knowledge, Utilizing
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว