ผลของโปรแกรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อสแตฟฟิโลค็อกคัส ออเรียสที่ดื้อต่อยาเมธิซิลลินต่อความรู้ และการปฏิบัติของพยาบาลในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด
Keywords:
ผลของโปรแกรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ, เชื้อสแตฟฟิโลค๊อกคัส, ออเรียส, ที่คือยาเมซิซิลลิน, หอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด, การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ, Prevention and Control Program, Methicillin-Resistant Staphylococcus Aureus, Neonatal Intensive Care Unit, Infection ControlAbstract
บทคัดย่อ
การติดเชื้อสแตฟฟิโลค๊อกคัส ออเรียส ที่ดื้อต่อยาเมธิซิลลิน ในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิดเป็น ปัญหาสำคัญของการติดเชื้อในโรงพยาบาล ส่งผลทำให้อัตราการเจ็บป่วยและการตายของทารกแรกเกิด เพิ่มมากขึ้น การปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ สแตฟฟิโลค๊อกคัส ออเรียส ที่ดื้อต่อยาเมธิซิลลินจึงมีความสำคัญในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดังกล่าวและลด การติดเชื้อ ในโรงพยาบาล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง 1 กลุ่มวัดซํ้า มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของโปรแกรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อสแตฟฟิโลค๊อกคัส ออเรียส ที่ดื้อต่อยาเมธิซิลลิน ต่อความรู้และการปฏิบัติของพยาบาล ในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ตั้งแต่ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 กลุ่มประชากร ที่ศึกษา คือ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบความรู้ แบบ บันทึกการสังเกต และโปรแกรมการส่งเสริมความรู้และการปฏิบัติซึ่ง ประกอบด้วย แผนการเรียนรู้แบบ มีส่วนร่วม การให้ข้อมูลย้อนกลับ และการสนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลและอุปกรณ์การทำความ สะอาดมือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติไคสแควร์
ผลการวิจัย พบว่า
ภายหลังการดำเนินโปรแกรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อสแตฟฟิโลค๊อกคัส ออเรียสที่ดื้อ ต่อยาเมธิซิลลิน พยาบาลมีคะแนนความรู้ และสัดส่วนการปฏิบัติ ที่ถูกต้องในการป้องกันและควบคุม การติดเชื้อสแตฟฟิโลค๊อกคัส ออเรียส ที่ดื้อต่อยาเมธิซิลลิน เพิ่มสูงขึ้นกว่าก่อนการดำเนินโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการใช้โปรแกรมการส่งเสริมความรู้ และการปฏิบัติ ส่งเสริมให้พยาบาลมีความรู้และการปฏิบัติที่ถูกต้องในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ สแตฟฟิโลค็อกคัส ออเรียส ที่ดื้อต่อยาเมธิซิลลินในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด
คำสำคัญ: ผลของโปรแกรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ เชื้อสแตฟฟิโลค๊อกคัส ออเรียส ที่คือยาเมซิซิลลิน หอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ
Abstract
Infection of Methicillin-Resistant Staphylococcus aureus (MRSA) in a Neonatal Intensive Care Unit (NICU) is an important problem for hospital-associated infection, affecting the increasing rate of morbidity and mortality in neonates. Practices of guidelines for prevention and control of MRSA are essential to prevent the spread of MRSA and decrease hospital-associated infection. This quasi - experimental research aimed to examine the effects of the prevention and control program for MRSA on knowledge and practices among nurses in a neonatal intensive care unit, Sappasitthiprasong hospital, during December 2010 to March 2011. The study population included 16 registered nurses. The research instruments consisted of a demographic data questionnaire, the knowledge test, the observational recording form and the prevention and control program for MRSA which consisted of participatory learning plans, information feedback provision and the support of personal protective equipment and hand hygiene equipment. Data were analyzed using descriptive statistics and Chi-square test.
The results of study
After implementing the prevention and control program for MRSA, nurses’ knowledge scores and proportion of correct practices of the prevention and control of MRSA statistically significantly higher than prior to the implementation of the program (p < 0.05). The results show that the usage of the prevention and control program can improve nurses’ knowledge and correct practices regarding prevention and control of MRSA in NICU.
Key words: Prevention and Control Program, Methicillin-Resistant Staphylococcus Aureus, Neonatal Intensive Care Unit, Infection Control
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว