ผลของการเสริมแรงในการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคปอดต่อความรู้ และการปฏิบัติของประชาชนในพื้นที่รอบศูนย์อพยพ

Authors

  • วิจิตรา แดงเถิน พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลอุ้มผาง จังหวัดตาก
  • นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อะเคื้อ อุณหะเลขกะ รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

การเสริมแรง, การป้องกันการติดเชื้อวัณโรคปอด, ประชาชน, ศูนย์อพยพ, Reinforcement, Prevention of Pulmonary Tuberculosis Infection, People, Refugee camp

Abstract

บทคัดย่อ

การป้องกันการติดเชื้อวัณโรคปอดของประชาชนในพื้นที่รอบศูนย์อพยพ มีความสำคัญมาก เนื่องจากประชาชนมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรคปอดจากผู้อพยพมากกว่าประชาชนที่อาศัยอยู่ ในพื้นที่ทั่วไป การส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้และการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมในการป้องกันการ ติดเชื้อวัณโรคปอดจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริม แรงในการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคปอดต่อความรู้และการปฏิบัติของประชาชนในพื้นที่รอบศูนย์อพยพ ระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคม 2554 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด ด้วยวิธีการสุ่มแบบมีระบบ แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 68 คน รวมทั้งสิ้น 136 คน โดยกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการเสริมแรง และกลุ่มทดลองได้รับการเสริมแรง เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคปอด และแบบสอบถาม การปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคปอด และเครื่องมือที่ใช้ดำเนินการวิจัย ได้แก่ แผนการเสริม แรง ซึ่งประกอบด้วยการให้ความรู้ การให้รางวัล การเตือนโดยใช้โปสเตอร์ และการสนับสนุนอุปกรณ์ โดยเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลและสื่อที่ให้ความรู้มีทั้งภาษาไทยและภาษากะเหรี่ยง วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบค่าที

ผลการวิจัย พบว่า

หลังได้รับการเสริมแรง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคปอด เพิ่มขึ้นจาก 19.00 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.14) เป็น 26.87 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.08) ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และมากกว่ากลุ่มควบคุมที่มีค่าเฉลี่ย คะแนนความรู้หลังการทดลอง 18.66 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.76) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และหลังได้รับการเสริมแรง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติในการป้องกันการ ติดเชื้อวัณโรคปอดเพิ่มขึ้นจาก 22.35 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4.93) เป็น 29.43 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4.72) ซึ่งแตกต่างอย่างมีนยั สำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และมากกว่ากลุ่มควบคมุ ที่มีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติหลังการทดลอง 22.03 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4.95) อย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ (p < 0.001)

การวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า การเสริมแรงในการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคปอด มีผลทำให้ประชาชน มีความรู้และการปฏิบัติในการป้องการติดเชื้อวัณโรคปอดได้ถูกต้องเพิ่มขึ้น ดังนั้นบุคลากรสุขภาพควรนำ การเสริมแรงไปใช้ในการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคปอด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ วัณโรคปอดของประชาชน ในพื้นที่รอบศูนย์อพยพต่อไป

คำสำคัญ: การเสริมแรง การป้องกันการติดเชื้อวัณโรคปอด ประชาชน ศูนย์อพยพ

 

Abstract

Prevention of pulmonary tuberculosis infection among people surrounding the refugee camp is crucial. People are more at risk from pulmonary tuberculosis infection when they reside a refugee camp than in a general area. Promotion of knowledge and practice for correct and appropriate in prevention of pulmonary tuberculosis infection among people are important. The purpose of this quasi-experimental study was to determine the effects of reinforcement in prevention of pulmonary tuberculosis infection on knowledge and practices among people surrounding the refugee camp during January to March, 2011. The subjects in this study were selected by systematic sampling and randomly assigned into either control or experimental group. Of each group have sixty eight persons, total one hundred and thirty six persons. The control group did not receive reinforcement whereas the experimental group received reinforcement. Instruments for data collection consisted of the questionnaires on demographic data, knowledge and practice in prevention of pulmonary tuberculosis infection. Instruments for the intervention consisted of reinforcement plan composing education, rewarding, poster reminder and facility provision. Instruments for data collection and mass instruction media were in both Thai and Karen languages. Data were analyzed using descriptive statistics and t-test.

The results of study

After receiving reinforcement, the mean score of knowledge in prevention of pulmonary tuberculosis infection among the experimental group significantly increased from 19.00 (S.D. = 3.14 ) to 26.87 (S.D.=3.08) (p < 0.001) and was significantly higher than the control group with the mean score of 18.66 (S.D. = 3.76) (p < 0.001). After receiving reinforcement, the mean score of practices in prevention of pulmonary tuberculosis infection among the experimental group significantly increased from 22.35 (S.D. = 4.93) to 29.43 (S.D. = 4.72) (p < 0.001) and was significantly higher than the control group with the mean score of 22.03 (S.D. = 4.95) (p < 0.001).

These findings indicate that reinforcement in prevention of pulmonary tuberculosis infection is effective to increase knowledge and practices in prevention of pulmonary tuberculosis infection among people. Healthcare workers should use the reinforcement in prevention of pulmonary tuberculosis infection to people surrounding the refugee camp.

Key words: Reinforcement, Prevention of Pulmonary Tuberculosis Infection, People, Refugee camp.

Downloads

How to Cite

แดงเถิน ว., เกษตร์ภิบาล น., & อุณหะเลขกะ อ. (2013). ผลของการเสริมแรงในการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคปอดต่อความรู้ และการปฏิบัติของประชาชนในพื้นที่รอบศูนย์อพยพ. Nursing Journal CMU, 39(2), 116–131. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/7411