ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง และระดับนํ้าตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน

Authors

  • ยุคลธร เธียรวรรณ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
  • มยุรี นิรัตธราดร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ชดช้อย วัฒนะ อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Keywords:

กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ระดับนํ้าตาลในเลือด, People at Risk for Diabetes, Self-care Behaviors, Blood Sugar Level

Abstract

บทคัดย่อ

กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานมีโอกาสเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การส่งเสริมการดูแลตนเองอย่างเหมาะสม เพื่อชะลอหรือลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานจึงเป็นสิ่งสำคัญ การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับนํ้าตาลในเลือด ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบา หวานตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขจำนวน 80 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยการจับ ฉลากแบบไม่แทนที่กลุ่มละ 40 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองที่พัฒนาจากทฤษฎี การดูแลตนเองของโอเร็ม ประกอบด้วยการสอนและฝึกทักษะเป็นกลุ่มย่อย 2 ครั้ง คู่มือการดูแลตนเองและ การติดตามเยี่ยมบ้าน 1 ครั้งโดยผู้วิจัย กลุ่มควบคุมได้รับความรู้ในการป้องกันโรคเบาหวานรายบุคคลโดย บุคลากรสาธารณสุข เครื่องมือประกอบด้วยโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตนเอง แบบสอบถามพฤติกรรม การดูแลตนเองและเครื่องตรวจระดับนํ้าตาลในเลือดซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพ เก็บรวมรวมข้อมูลก่อน และหลังเข้าร่วมโครงการ 12 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติที สถิติทีคู่

ผลการวิจัยพบว่า

หลังเข้าร่วมโครงการ 12 สัปดาห์กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองสูงกว่าก่อนเข้า ร่วมโครงการ (p < 0.001) และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) นอกจากนี้พบว่าหลัง เข้าร่วมโครงการ 12 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยระดับนํ้าตาลในเลือดก่อนอาหารเช้าไม่แตกต่างจากก่อนเข้า ร่วมโครงการแต่ตํ่ากว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.001) แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมในการศึกษาครั้ง นี้มีประสิทธิภาพในการพัฒนาพฤติกรรมการดูแลตนเองในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานแม้จะไม่สามารถลดระดับ นํ้าตาลในเลือดก่อนอาหารเช้าได้

โดยมีข้อเสนอแนะว่าโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบา หวานและควรทำการศึกษาซํ้าโดยเพิ่มระยะเวลาในการติดตามผล

คำสำคัญ: กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน พฤติกรรมการดูแลตนเอง ระดับนํ้าตาลในเลือด

 

Abstract

Being people at risk for diabetes increases the chance of developing type 2 diabetes. Promoting appropriate self-care behaviors for delay or decrease the risk of this disease is important. This quasi-experiment research was conducted in order to examine the effects of a Self-care promotion program on self-care behaviors and blood sugar levels among people at risk of diabetes in a community hospital in Buriram province. Eighty people at risk for diabetes that met the research criteria were participated. The participants were randomly assigned into the experimental and control group equally (40 participants per group) by using simple random sampling without replacement. The experimental group received the Self-care promotion program that was developed based on Orem’s Self-care Theory. The program consisted of two small group education sessions and skill training, a manual for self-care, and a home visit by the nurse researcher. The control group received the usual nursing care and individual health education for diabetes prevention from the health-care providers. The instruments included the Self-care promotion program and Self-care behaviors questionnaire that were tested for their psychometric properties. Data were collected at baseline and 12 weeks. Data were analyzed using descriptive statistics, independent t-test, paired t-test.

The results of study

12 weeks after enrollment, the experimental group demonstrated significantly higher self-care behaviors scores than at baseline (p < 0.001), and than the control group (p < 0.001). Furthermore, at 12 weeks, the experimental group showed no difference in fasting plasma glucose levels compared to baseline, but had significantly lower fasting plasma glucose levels than the control group ( p < 0.001). It can be concluded that the Self-care promotion program is effective to promote self-care behaviors, even though this program failed to show the significant reduction of fasting plasma glucose levels .

The results suggest that the program in this study can be used for people at risk of type 2 diabetes. The effectiveness of this program on blood glucose levels in a longer time frame are needed to be replicated.

Key Words: People at Risk for Diabetes, Self-care Behaviors, Blood Sugar Level

Downloads

How to Cite

เธียรวรรณ ย., นิรัตธราดร ม., & วัฒนะ ช. (2013). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง และระดับนํ้าตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน. Nursing Journal CMU, 39(2), 132–143. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/7412