พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ และการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้วางแผนของสตรี ในสถานประกอบการในเขตเมืองภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย

Authors

  • สุสัณหา ยิ้มแย้ม
  • สุจิตรา เทียนสวัสดิ์ รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อำไพ จารุวัชรพาณิชยกุล รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ, การตั้งครรภ์ที่ไม่ได้วางแผน, การทำแท้ง, สตรีในสถานประกอบการ, Sexual Risk Behaviors, Unplanned Pregnancy, Abortion, Women in the Workplaces

Abstract

บทคัดย่อ

สตรีในสถานประกอบการโดยเฉพาะสตรีที่ทำงานในโรงงานและศูนย์การค้าส่วนใหญ่ ต้องทำงาน เวรผลัดและมีชั่วโมงทำงานที่ยาวนาน ทำให้ต้องย้ายที่พักมาอาศัยอยู่ใกล้สถาน ประกอบการและห่างไกลครอบครัว อาจมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ วางแผน การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่ออธิบายพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและการ ตั้งครรภ์ที่ไม่ได้วางแผนของสตรีในสถานประกอบการ โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสานทั้งวิธี วิจัยเชิงคุณภาพและวิจัยเชิงปริมาณ รวบรวมข้อมูลหลักจากการตอบแบบสอบถามของสตรี ในโรงงานอุตสาหกรรมสองแห่งและในศูนย์การค้าสองแห่ง จำนวน 301 คน ส่วนข้อมูลเพิ่ม เติมได้จากการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล และพยาบาล ของสถานประกอบการ การสังเกตสภาพการทำงานและสภาพแวดล้อม และการจัดเวที ยืนยันผลสรุปของข้อมูล รวมทั้งข้อเสนอแนวทางในการพัฒนาสุขภาพด้านอนามัยเจริญ พันธุ์สำหรับสตรีในสถานประกอบการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวคำถามในการ สัมภาษณ์ และแบบสอบถามเกี่ยวกับการทำงาน พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและการตั้งครรภ์ ที่ไม่ได้วางแผนของสตรีในสถานประกอบการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

สตรีส่วนใหญ่มีการทำงานที่ยาวนานและมีวันหยุดเพียง 1 วันในแต่ละสัปดาห์ และสตรี จำนวนมากใช้การพักผ่อนไปในสถานบันเทิง สตรีกลุ่มนี้มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ได้แก่ การมี เพศสัมพันธ์ครั้งแรก เมื่ออายุน้อย การมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย การขาดทักษะในการสื่อสาร และต่อรองทางเพศ สตรีที่มีสามีหรือคู่รักแล้ว ประมาณหนึ่งในสาม ไม่เคยพูดถึงความต้องการทางเพศของตนเอง (29.5%) และการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (32.4%) สตรีเพียงร้อยละ 27.5 ที่เคยใช้ถุงยางอนามัย และสตรีมากกว่าครึ่งหนึ่ง (58.0%) เห็น ว่าการใช้ถุงยางอนามัยไม่เหมาะสมสำหรับคู่สามี ภรรยา สตรีที่เคยมีประสบการณ์การตั้งครรภ์ เกือบครึ่งหนึ่ง (44.8%) เคยตั้งครรภ์โดยไม่ได้วางแผน ซึ่งส่วนใหญ่จะปล่อยให้ตั้งครรภ์ต่อไป ขณะที่ร้อยละ 11.1 ทำแท้งในจำนวนสตรีที่เคยแท้ง 37 คน ทุกคนเคยทำแท้ง วิธีทำแท้งที่พบมาก คือการใช้เครื่องดูดเอาทารกออก (32.4%) และใช้ยาเหน็บทางช่องคลอด (21.6%) คณะผู้วิจัยเสนอ ว่าควรทำวิจัยเชิงปฏิบัติการที่ต่อเนื่องเพื่อให้ความรู้ และทักษะในการดูแลสุขภาพด้านอนามัย เจริญพันธุ์ การสื่อสาร และการต่อรองในการมีเพศสัมพันธ์ของสตรีในสถานประกอบการเพื่อลด ภาวะเสี่ยงและปัญหาสุขภาพด้านอนามัยเจริญพันธุ์ของสตรีในสถานประกอบการ

คำสำคัญ : พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การตั้งครรภ์ที่ไม่ได้วางแผน การทำแท้ง สตรีในสถานประกอบการ

 

Abstract

Women in the workplace, especially in factories and shopping centers, often work long-hours with rotating shifts. With these conditions, some have to move close to stay nearby the workplace and far from their family and, consequently, aff ect sexual risk behaviors and unplanned pregnancy. The objectives of this descriptive research were to investigate sexual risks and unplanned pregnancy among women in workplace by using a combined qualitative and quantitative approach. Data were collected from 301 female employees in two factories and two shopping centers through self-report questionnaires. Additional data were collected from administrators, nurses and personnel staff in the workplace by interviews, focus group discussions as well as observation of work conditions and

The results of study

The majority of the women in workplace worked long-hours with only one holiday a week and many women went out to entertainment places for recreation. The majority of them engaged in sexual risk behaviors, including having sex at a young age, having pre-marital sexual relations, having unsafe sex, and processing poor skills for sexual communication and negotiation. Among those who had a husband or partner, about one-third of them had never told their husbands/partners about their sexual needs (29.5%) and never discussed the issue of prevention of sexual transmission diseases (STD) (32.4%). Only 27.5 % of women had used a condom and over half of these women (58.0%) thought that condom use was inappropriate for the husband-wife relationship. Among the women who had experienced pregnancy, 44.8% had experienced an unplanned pregnancy; however, most of these had continued with the pregnancy, whilst 11.1% had an abortion. Among the 37 women who had a history of abortion, all of them had experience of illegal abortion. The most common methods of illegal abortion were vaginal suction (32.4%) and vaginal suppository of tablets (21.6%). Based on these fi ndings, the researchers recommend that action research should be continued in order to provide knowledge and skills for enhancing reproductive health care, sexual communication and negotiation of women in the workplace to decrease sexual risk behaviors and unplanned pregnancy.

Key words : Sexual Risk Behaviors, Unplanned Pregnancy, Abortion, Women in the Workplaces

Downloads

How to Cite

ยิ้มแย้ม ส., เทียนสวัสดิ์ ส., & จารุวัชรพาณิชยกุล อ. (2013). พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ และการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้วางแผนของสตรี ในสถานประกอบการในเขตเมืองภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. Nursing Journal CMU, 39(1), 10–22. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/7415