ผลของโปรแกรมการสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และกิจกรรมทางกายในเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกิน

Authors

  • จุฑามาศ โชติบาง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
  • เนตรทอง นามพรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
  • พัชรี วรกิจพูนผล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

Keywords:

โปรแกรมการสร้างพลังอำนาจ, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, การปฏิบัติกิจกรรมทางกาย, เด็กที่มีภาวะโภชนาการเกิน, Empowerment Program, Eating Behavior, Physical Activity, Overweight Children

Abstract

บทคัดย่อ

การสร้างพลังอำนาจอาจมีส่วนช่วยให้เด็กที่มีภาวะโภชนาการเกิน สามารถปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการปฏิบัติกิจกรรมทางกายให้เหมาะสมและ สามารถควบคุมน้ำหนักได้ การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ โปรแกรมการสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการปฏิบัติกิจกรรม ทางกายในเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกิน กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกิน ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 3 ในโรงเรียนเอกชนเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่าง เดือนธันวาคม 2551 – ธันวาคม 2552 เลือกแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 70 คน แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง 35 คน และกลุ่มควบคุม 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือดำเนินการวิจัยคือ โปรแกรมการสร้างพลังอำนาจที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการ ทบทวนวรรณกรรม เครื่องมือรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถาม พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และการปฏิบัติกิจกรรมทางกายของเด็กของวาณี โพธิ์นคร และ ศรีสุดา เอกลัคนารัตน์ (2548) และแบบบันทึกการสังเกตที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เครื่องมือ ทั้งหมดได้ผ่านการตรวจสอบความตรงต่อเนื้อหาเท่ากับ 0.92 และทดสอบความเชื่อมั่น ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคเท่ากับ 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Wilcoxonและสถิติ Mann-Whitney U

ผลการวิจัยพบว่า

1. เด็กที่มีภาวะโภชนาการเกินภายหลังได้รับโปรแกรมการสร้างพลังอำนาจมีคะแนน พฤติกรรมการบริโภคอาหารอาหารมากกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการสร้างพลังอำนาจอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001

2. เด็กที่มีภาวะโภชนาการเกินที่ได้รับโปรแกรมการสร้างพลังอำนาจมีคะแนนพฤติกรรม การ บริโภคอาหารมากกว่าเด็กที่ไม่ได้รับโปรแกรมการสร้างพลังอำนาจอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05

3. เด็กที่มีภาวะโภชนาการเกินภายหลังได้รับโปรแกรมการสร้างพลังอำนาจมีคะแนนการ ปฏิบัติกิจกรรมทางกายมากกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการสร้างพลังอำนาจอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.01

4. เด็กที่มีภาวะโภชนาการเกินที่ได้รับโปรแกรมการสร้างพลังอำนาจมีคะแนนการปฏิบัติ กิจกรรมทางกายมากกว่าเด็กที่ไม่ได้รับโปรแกรมการสร้างพลังอำนาจอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05

ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการสร้างพลังอำนาจสามารถช่วยให้เด็กที่มีภาวะ โภชนาการเกินมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอาหารและการปฏิบัติกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม และสามารถควบคุมน้ำหนักได้ ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้มีการขยายผลโปรแกรมโดยการนำโปรแกรม การสร้างพลังอำนาจไปใช้ในการส่งเสริมการบริโภคเพื่อสุขภาพและการปฏิบัติกิจกรรมทางกายใน เด็กที่มีภาวะโภชนาการเกินในระดับชั้นอนุบาล 3 ในโรงเรียนต่างๆ ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ของประเทศไทยต่อไป

คำสำคัญ: โปรแกรมการสร้างพลังอำนาจ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร การปฏิบัติกิจกรรม ทางกาย เด็กที่มีภาวะโภชนาการเกิน

 

Abstract

Empowerment could enable overweight children to behavior modifi cation to be appropriate eating behavior and physical activity; and control weight. The purpose of this quasi-experimental research was to examine the eff ect of empowerment program on eating behavior and physical activity among overweight children. The samples, purposively selected, were 70 pupils of kindergarten 3 in private schools in Muang District, Northern Province of Thailand. Data were collected during December 2008 to December 2009. The samples were equally assigned in number, 35 pupils, to the experiment group and the control group. The research instruments were the empowerment program which was developed by the researcher from literature review. The research instruments were the Demographic Data Form, the Eating Behavior and Physical Activity questionnaire which the researcher modifi ed from Wanee and Srisuda (2005), and the Participant Observation form which was developed by the researcher from reviewing of the literature. The content validity of all research instruments was 0.92, and the Cronbach’s alpha coeffi cient for its reliability of was 0.91. Data were analyzed using descriptive statistics, Wilcoxon, and Mann-Whitney U.

The results of study

1. The samples, after receiving the Empowerment Program, showed statistically signifi cant higher appropriate eating behavior scores than that of before (P < 0.001);

2. The samples who received the Empowerment Program had statistically signifi cant higher appropriate eating behavior scores than that of the control group (P < 0.05);

3. The samples, after receiving the Empowerment Program, showed statistically signifi cant higher physical activity scores than that of before (P < 0.01);

4. The samples who received the Empowerment Program had statistically signifi cant higher physical activity scores than that of the control group (P < 0.05).

The results of this study indicate that the Empowerment Program could enable overweight pupils to have appropriate eating behavior and physical activity and control weight. Therefore, the program should be extended the implementation to other schools to promote appropriate healthy eating and physical activity of pupils in the Northern part of Thailand.

Key words: Empowerment Program, Eating Behavior, Physical Activity, Overweight Children

Downloads

How to Cite

โชติบาง จ., นามพรม เ., & วรกิจพูนผล พ. (2013). ผลของโปรแกรมการสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และกิจกรรมทางกายในเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกิน. Nursing Journal CMU, 39(1), 23–34. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/7416