การพัฒนาโปรแกรมการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

Authors

  • ทัพพ์ขวัญ ศรีรัตยาวงค์ พยาบาลวิชาชีพ
  • สุมาลี เลิศมัลลิกาพร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อะเคื้อ อุณหเลขกะ รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

การพัฒนาโปรแกรม, การป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, การมีส่วนร่วมของชุมชน, Program development, Alcohol Drinking Prevention, Secondary School Student, Community Participation

Abstract

บทคัดย่อ

แนวโน้มการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง หากไม่มีวิธีการป้องกันที่เหมาะสมอาจทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ที่ส่งผลกระทบ ต่อนักเรียนและสังคม การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการป้องกันการดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและ ศึกษาผลของโปรแกรมต่อความรู้และทักษะการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม พัฒนาโปรแกรม ประกอบด้วยผู้อำนวยการโรงเรียน ครู นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ผู้ปกครองนักเรียน ผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย รวม 15 คนและกลุ่ม ผู้เข้าร่วมโปรแกรมคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 30 คนที่กำลังศึกษาในโรงเรียน มัธยมศึกษาในจังหวัดพะเยา ระยะเวลาดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2553 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดความรู้เกี่ยวกับเครื่อง ดื่มแอลกอฮอล์ และแบบวัดทักษะการปฏิเสธ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และทดสอบค่าทีที่เป็นอิสระต่อกัน

โปรแกรมการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยการมี ส่วนร่วมของชุมชนพัฒนาขึ้นตามแนวคิดพรีซีด-โพรซีดโมเดล การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 การประเมินและวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของ นักเรียน มัธยมศึกษาตอนต้น และระยะที่ 2 การปฏิบัติ และการประเมินผลโปรแกรมที่พัฒนา ขึ้นประกอบด้วย 5 กิจกรรมคือ 1) การรณรงค์ห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้กับนักเรียน 2) การจัดทำป้ายรณรงค์การ ป้องกันการดื่ม 3) การจัดกิจกรรมกล่าวคำปฏิญาณตนงดดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 4) การจัดอบรมเรื่องการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในนักเรียน มัธยมศึกษาตอนต้นและ 5) การจัดตั้งชมรมเพื่อรณรงค์การป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนและชุมชนผลการวิจัย พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนต้นมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และทักษะปฏิเสธเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)

ผลการวิจัยพบว่า

โปรแกรมการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโดยการ มีส่วนร่วมของชุมชนที่พัฒนาขึ้นนั้น สามารถเพิ่มความรู้เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และทักษะ ปฏิเสธในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นได้ ดังนั้นควรนำโปรแกรมการป้องกันการดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ไปประยุกต์ใช้กับวัยรุ่นในโรงเรียนและชุมชนและควรติดตามพฤติกรรมการดื่มเครื่อง ดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นในระยะยาว

คำสำคัญ: การพัฒนาโปรแกรม การป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นักเรียนมัธยมศึกษา ตอนต้น การมีส่วนร่วมของชุมชน

 

Abstract

The trend of alcohol drinking among secondary school students has continuously increased. It is important to have appropriate prevention methods in order to avoid problems to students and society. The purposes of this research were to develop a Community Participative Program for alcohol drinking prevention among secondary school students and determine the eff ects of this program toward students’ alcohol knowledge and refusal skills for alcohol drinking. The samples were divided into two groups. The fi rst group was a group of program developers consisting of a school director, teachers, secondary school students, parents, community leaders, and health center offi cers altogether 15 people. The second group was a group of program attendants including 30 secondary school students in secondary school in Phayao Province. The research was conducted during March to August 2010. The research instruments were the alcohol knowledge test and the refusal skills test. Data were analyzed using descriptive statistics and paired t-test.

The researcher developed the Community Participative Program for alcohol drinking prevention among secondary school students based on a PRECEDE-PROCEED model. It was composed of two phases as follows: The fi rst phase consisted of problem assessment and analysis about alcohol drinking behavior among secondary school students and the second phase included implementation and evaluation. The developed program was composed of fi ve activity plans including 1) a campaign to ban the sale of alcohol to students, 2) campaign banners production for alcohol drinking prevention, 3) students’ activity for committing to abstain from alcohol drinking, 4) alcohol drinking prevention training among secondary school students, and 5) a club setting for alcohol drinking prevention campaign among secondary school students in school and community. The result of this research revealed that the program attending students’ alcohol knowledge and refusal skills increased at a statistically signifi cant level (p < 0.001).

This results of study

The developed community participative program for alcohol drinking prevention among secondary school students could increase alcohol knowledge and refusal skills among students. Therefore, the alcohol drinking prevention program should be applied to adolescents in school and community. Furthermore, the long-term follow-up of alcohol drinking behavior among adolescents is recommended.

Key words: Program development, Alcohol Drinking Prevention, Secondary School Student, Community Participation

Downloads

How to Cite

ศรีรัตยาวงค์ ท., เลิศมัลลิกาพร ส., & อุณหเลขกะ อ. (2013). การพัฒนาโปรแกรมการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. Nursing Journal CMU, 39(1), 46–63. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/7418