ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง ภาวะหายใจลำบาก ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว

Authors

  • ลดาวัลย์ ฤทธิ์กล้า พยาบาลวิชาชีพ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ชดช้อย วัฒนะ อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • พีระพงค์ กิติภาวงค์ รองศาสตราจารย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Keywords:

โปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเอง, ภาวะหายใจลำบาก, ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน, คุณภาพชีวิต, ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว, Self-management Program, Dyspnea, Activities of Daily Living, Quality of Life, Patients with Congestive Heart Failure

Abstract

บทคัดย่อ

ภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญของประชากรทั่วโลก โดยมีอุบัติการณ์ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การส่งเสริมการจัดการตนเองมีความสำคัญในการควบคุมโรค และการลดภาวะแทรกซ้อน การวิจัยเชิงทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ โปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองต่อ พฤติกรรมการจัดการตนเอง ภาวะหายใจ ลำบาก ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันและคุณภาพชีวิต ของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว โดยศึกษาในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวระดับที่ 2 และ 3 จำนวน 48 ราย ที่มารับบริการ ที่แผนกผู้ป่วยในและการติดตามการรักษาต่อเนื่องที่ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติ ระหว่างเดือนมีนาคมถึงมิถุนายน 2554 โดยทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 24 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริม การจัดการตนเองที่พัฒนาขึ้นจากแนวคิดการจัดการตนเองของเครียร์ (Creer, 2000) ประกอบด้วยการให้ความรู้เป็นรายบุคคล การฝึกทักษะการจัดการตนเองในการควบคุม อาการกำเริบและติดตามเยี่ยมทางโทรศัพท์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เก็บ รวบรวมข้อมูลก่อนเข้า ร่วมโครงการ หลังเข้าร่วมโครงการ 4 สัปดาห์และ 12 สัปดาห์ โดย แบบประเมินอาการ หายใจลำบากของเบิร์ก แบบประเมินพฤติกรรมการจัดการตนเองใน ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว แบบประเมินการปฏิบัติกิจวัตร ประจำวันของนาคากาวา-โคแกน และแบบประเมินคุณภาพชีวิต โดยผ่านการตรวจสอบความตรง ตามเนื้อหาจากผู้ทรง คุณวุฒิ 5 ท่าน ทดสอบความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้ 0.87, 0.92, 0.82 และ 0.82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ไคสแคว์ สถิติทีคู่ การวิเคราะห์ความ แปรปรวนแบบวัดซ้ำและการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า

ภายหลังเข้าร่วมโครงการ 4 และ 12 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรมการจัดการ ตนเอง สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ (p < 0.001 และ p < 0.001 ตามลำดับ) และสูงกว่ากลุ่ม ควบคุม (p < 0.001 และ p < 0.001 ตามลำดับ)

ภายหลังเข้าร่วมโครงการ 12 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีคะแนนภาวะหายใจลำบากต่ำกว่า ก่อน เข้าร่วมโครงการและต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (p < 0.001 และ p < 0.001 ตามลำดับ) โดยมีคะแนน ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการและสูงกว่ากลุ่มควบคุม (p < 0.01 และ p < 0.001 ตามลำดับ) และมีคะแนนคุณภาพชีวิตสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการและ สูงกว่ากลุ่มควบคุม (p < 0.001 และ p < 0.001 ตามลำดับ)

ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองมีประสิทธิภาพ ในการส่งเสริมพฤติกรรมการควบคุมโรค โดยลดอาการกำเริบของโรค เพิ่มความสามารถในการ ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและเพิ่มคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวระดับที่ 2 และ 3 ซึ่ง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในกลุ่มผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวที่ไม่สามารถควบคุมโรคได้ โดยควรทำการ ศึกษาซ้ำในระยะยาว ในกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรม

คำสำคัญ: โปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเอง ภาวะหายใจลำบาก ความสามารถใน การทำกิจวัตรประจำวัน คุณภาพชีวิต ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว

 

Abstract

Heart failure has been identifi ed as a leading cause of death globally. The incidence rates of heart failure are increasing rapidly. Promoting proper self-management would help control the disease and reduce complications. The aim of this experimental study was to examine the eff ects of a Self-management program on self-management behaviors, dyspnea, activities of daily living, and quality of life among patients with heart failure. The samples were 48 heart failure patients’, functional class 2nd and 3rd level, who were admitted or came for follow-up visit from either In- patient department or Heart center, Thammasat university hospital during March-June, 2011. Subjects were randomly assigned to the experimental and control groups equally (24 people per group). The experimental group received the Self-management program that was developed based on Self-management concept. It consisted of an individual education session for disease controlled, self-management skill training, and a phone call visit, whereas the control group received usual nursing care. The program, manual and instruments were approved by fi ve experts. Data were collected using the Modifi ed Borg’s score for dyspnea, Self-management behaviors questionnaire, Perception function ability score for activities of daily living and the Minnesota living with heart failure questionnaire for quality of life at baseline, four weeks, and twelve weeks after entering the program. The Cronbach’s alpha coeffi cients were 0.87, 0.92, 0.82 and 0.82, respectively. Data were analyzed using descriptive statistic, Chi-square test, paired t-test, repeated measure analysis of variances, and multivariate of variances.

The results of study

At four weeks and 12 weeks after enrollment, the experiment group demonstrated a signifi cant higher self-management behavior scores than baseline (p < 0.001 and p < 0.001, respectively) and than the control group (p < 0.001 and p < 0.001, respectively). In addition, at 12 weeks the experimental group demonstrated a signifi cant lower dyspnea score than baseline and than the control group (p < 0.001 and p < 0.001, respectively), a signifi cant higher activities of daily living scores than baseline and than the control group (p < 0.01 and p < 0.001, respectively), and a signifi cant higher quality of life scores than baseline and than the control group (p < 0.001 and p < 0.001, respectively).

Results from this study suggest that the Self-management program is eff ective in increasing disease control, reducing exacerbation, improving activity daily living, and improving quality of life and can be used in patients with poor controlled heart failure. Future studies should be replicated using a larger group in a longer time frame.

Key words: Self-management Program, Dyspnea, Activities of Daily Living, Quality of Life, Patients with Congestive Heart Failure

Downloads

How to Cite

ฤทธิ์กล้า ล., วัฒนะ ช., & กิติภาวงค์ พ. (2013). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง ภาวะหายใจลำบาก ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว. Nursing Journal CMU, 39(1), 64–76. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/7419