ผลของกระบวนการกลุ่มและการให้ความรู้ต่อความตั้งใจและการปฏิบัติ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของผู้ป่วยวัณโรคปอด

Authors

  • นงนุช เคี่ยมการ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสงขลา, จังหวัดสงขลา
  • วันชัย มุ้งตุ้ย รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วราภรณ์ บุญเชียง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

กระบวนการกลุ่ม, การให้ความรู้, ความตั้งใจ, การปฏิบัติ, วัณโรคปอด, Group Process, Education, Imtemtion, Practice, Palmonary Tubpreulosis

Abstract

บทคัดย่อ

การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อมีความสำคัญสำหรับผู้ป่วยวัณโรคปอด การส่งเสริม ให้ผู้ป่วยมีเจตคติและการปฏิบัติที่เหมาะสมในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคปอด เป็นกิจกรรมที่สำคัญ การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกระบวนการกลุ่ม และการให้ความรู้ต่อความตั้งใจและ การปฏิบัติเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของผู้ป่วย วัณโรคปอดที่มารับบริการตรวจรักษาที่คลินิกวัณโรคแห่งหนึ่ง ระหว่างเดือนสิงหาคม ถึงเดือน พฤศจิกายน 2553 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ตามเกณฑ์ที่กำหนด รวม 50 ราย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามวิธีการปกติ และกลุ่มทดลองเข้าร่วม กระบวนการกลุ่มและได้รับความรู้จากผู้วิจัย เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึก ข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความตั้งใจในการปฏิบัติเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค ได้ ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา 0.95 และค่าความเชื่อมั่น 0.84 และแบบสอบถามการปฏิบัติ ในการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อวัณโรคปอด ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา 0.93 และ ค่าความเชื่อมั่น 0.83 และ เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการวิจัย ได้แก่ แผนกระบวนการกลุ่ม และ แผนการให้ความรู้ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า

ผู้ป่วยวัณโรคปอดหลังเข้าร่วมกระบวนการกลุ่มและได้รับความรู้กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ย ความตั้งใจในการปฏิบัติเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคปอดเพิ่มจาก 47.12 คะแนน (ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน 6.146) เป็น 55.32 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.301) อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p < 0.001) และมากกว่ากลุ่มควบคุมที่มีค่าเฉลี่ย 49.64 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน 5.663) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และผู้ป่วยวัณโรคปอดหลังเข้าร่วมกระบวนการ กลุ่ม และได้รับความรู้ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค ปอด เพิ่มจาก 23.69 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.208) เป็น 28.56 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน 1.474) ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และมากกว่ากลุ่มควบคุมที่มี ค่าเฉลี่ย 26.56 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.451) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01)

การวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า การใช้กระบวนการกลุ่มและการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยวัณโรคปอด ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความตั้งใจและการปฏิบัติในการป้องการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น ดังนั้นบุคลากรสุขภาพควรนำกระบวนการกลุ่มและการให้ความรู้ไปใช้เพื่อป้องกันการแพร่กระจาย เชื้อวัณโรคต่อไป

คำสำคัญ: กระบวนการกลุ่ม การให้ความรู้ ความตั้งใจ การปฏิบัติ วัณโรคปอด

 

Abstract

Prevention of infection transmission is crucial among patients with pulmonary tuberculosis. Promotion of appropriate attitude and practice are essential activities. The main purpose of this quasi-experimental study was to determine the eff ects of group process and education on intention and practice in prevention of infection transmission among patients with pulmonary tuberculosis attending one pulmonary tuberculosis clinic during August to November, 2010. Fifty patients were purposively selected and randomly assigned into either control or experimental groups. The control group received routine care whereas the experimental group participated in the group process and received education. Instruments for data collection consisted of the demographic data recording form and the questionnaires on intention and practices in prevention of infection transmission. Instruments for the intervention consisted of the group process plan, a lesson plan, and a measure of attitude towards practice to prevent infection transmission. Data were analyzed by using descriptive statistics and t-test.

The results of study

The mean score of intention in prevention of infection transmission among the experimental group increased signifi cantly from 47.12 (S.D. = 6.146) to 55.32 (S.D. = 3.301), (p < 0.001), and was higher than that of the control group with the mean score of 49.64 (S.D. = 5.663), (p < 0.001). The mean score of practice in prevention of infection transmission among the experimental group signifi cantly increased from 23.69 (S.D. = 3.208) to 28.56 (S.D. = 1.474), (p < 0.001) and was signifi cantly higher than that of the control group with the mean score of 26.56 (S.D. = 2.451), (p < 0.01).

These findings indicate that group process and education were eff ective in improving the intention and practice in prevention of infection among patients with pulmonary tuberculosis. The group process and education should be used to prevent the spread of tuberculosis infection.

Key words: Group Process, Education, Imtemtion, Practice, Palmonary Tubpreulosis

Downloads

How to Cite

เคี่ยมการ น., มุ้งตุ้ย ว., & บุญเชียง ว. (2013). ผลของกระบวนการกลุ่มและการให้ความรู้ต่อความตั้งใจและการปฏิบัติ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของผู้ป่วยวัณโรคปอด. Nursing Journal CMU, 39(1), 91–104. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/7421