การจัดการความปวดโดยบิดามารดาในผู้ป่วยเด็กหลังผ่าตัดและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

Authors

  • รุ่งนภา คำฮ้อย โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
  • อุษณีย์ จินตะเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • นิตยา ไทยาภิรมย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

เด็ก, ความปวดหลังผ่าตัด, บิดามารดา, การจัดการความปวด

Abstract

     ความปวดเฉียบพลันในผู้ป่วยเด็กหลังผ่าตัดที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม การทราบปัจจัยที่เกี่ยวข้องช่วยให้จัดการความปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ เพื่อศึกษาการจัดการความปวดโดยบิดามารดาในผู้ป่วยเด็กหลังผ่าตัดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องตามแนวคิดการจัดการความปวดและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกลุ่มตัวอย่างคือบิดามารดาของผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการผ่าตัด อายุ 7–15 ปี จำนวน 123 ราย ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิจำานวน 3 แห่งเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป 2) แบบสอบถามความรู้ของบิดามารดาเกี่ยวกับการจัดการความปวดในผู้ป่วยเด็กหลังผ่าตัด 3) แบบสอบถามการสนับสนุนด้านข้อมูลจากพยาบาลเกี่ยวกับการจัดการความปวดในผู้ป่วยเด็กหลังผ่าตัด และ 4) แบบสอบถามการจัดการความปวดโดยบิดามารดาในผู้ป่วยเด็ก
หลังผ่าตัด แบบสอบถามเหล่านี้มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาระหว่าง .85-.92 และมีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง .83-.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน
     ผลการวิจัยพบว่า
1. บิดามารดามีคะแนนความรู้เกี่ยวกับการจัดการความปวดในผู้ป่วยเด็กหลังผ่าตัดอยู่ในระดับปานกลาง (x=13.19,S.D.= 2.80) มีคะแนนการสนับสนุนด้านข้อมูลจากพยาบาลเกี่ยวกับการจัดการความปวดในผู้ป่วยเด็กหลังผ่าตัดอยู่ในระดับปานกลาง (x=29.23,S.D.=9.69) และคะแนนการจัดการความปวดในผู้ป่วยเด็กหลังผ่าตัดเหมาะสมระดับปานกลาง (x=37.71, S.D.=3.09)
2. การจัดการความปวดโดยบิดามารดาในผู้ป่วยเด็กหลังผ่าตัดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความรู้ของบิดามารดาเกี่ยวกับการจัดการความปวดในผู้ป่วยเด็กหลังผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .252, p < .01) และการจัดการความปวดโดยบิดามารดาในผู้ป่วยเด็กหลังผ่าตัดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการสนับสนุนด้านข้อมูลจากพยาบาลเกี่ยวกับการจัดการความปวดในผู้ป่วยเด็กหลังผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(r=.355, p<.01)
     ผลการศึกษาครั้งนี้ เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับพยาบาลเกี่ยวกับการจัดการความปวดโดยบิดามารดาในผู้ป่วยเด็กหลังผ่าตัด เพื่อวางแผนช่วยให้บิดามารดามีการจัดการความปวดอย่างเหมาะสมและสามารถเป็นข้อมูลพื้นฐานในการทำวิจัยต่อไป

Downloads

Published

2016-06-30

How to Cite

คำฮ้อย ร., จินตะเวช อ., & ไทยาภิรมย์ น. (2016). การจัดการความปวดโดยบิดามารดาในผู้ป่วยเด็กหลังผ่าตัดและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. Nursing Journal CMU, 43(2), 13–22. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/74526