ผลของการส่งเสริมการจัดการตนเองในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดต่อความสามารถ ในการทำหน้าที่ของร่างกายและการใช้บริการสุขภาพในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
Keywords:
การส่งเสริมการจัดการตนเองในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด, ความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกาย, การใช้บริการสุขภาพ, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังAbstract
การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดได้รับการพิจารณาว่าเป็นกลวิธีที่มีประสิทธิภาพอย่างหนึ่งสำาหรับการควบคุมอาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังตลอดจนลดการใช้บริการสุขภาพของผู้ป่วย การค้นหาวิธีที่จะช่วยให้ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีการคงไว้ซึ่งการปฏิบัติที่ดีในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดจึงเป็นสิ่งที่ท้าทาย การวิจัยแบบ กึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการส่งเสริมการจัดการตนเองในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด
ต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกาย และการใช้บริการสุขภาพในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจำนวน 52 รายที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด และใช้วิธีการสุ่มแบบง่ายเพื่อจัดเข้ากลุ่มควบคุม
และกลุ่มทดลองในจำนวนเท่ากัน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติส่วนกลุ่มทดลองได้รับการส่งเสริมการจัดการตนเองในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดโดยผู้วิจัย เครื่องมือสำหรับการทดลองพัฒนาขึ้นโดยผู้วิจัย ประกอบด้วย แผนการส่งเสริมการจัดการตนเอง คู่มือการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดและแบบบันทึกการกำกับติดตามประจำวันด้วยตนเองเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล
แบบบันทึกข้อมูลการทดสอบการเดินบนทางราบใน 6 นาทีและแบบบันทึกจำนวนครั้งของการใช้บริการ สุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาการทดสอบแมนวิทนีย์ยู และการทดสอบวิลคอกซันแมชแพร์ ไซน์ แรงค์
ผลการวิจัยพบว่า
ผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ได้รับการส่งเสริมการจัดการตนเองในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดมีความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ และมากกว่าก่อนได้รับการ ส่งเสริมการจัดการตนเองในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p < .001) ผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ได้รับการส่งเสริมการจัดการตนเองในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดมีการใช้บริการสุขภาพน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติและน้อยกว่าก่อนได้รับการส่งเสริมการจัดการตนเองในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<.001)ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดสามารถช่วยเพิ่มผลลัพธ์ที่ดีในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้ การศึกษาในครั้งต่อไปควรทำการศึกษาการส่งเสริมการจัดการตนเองในระยะยาวในกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ขึ้น
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว