ผลของหลายกลยุทธ์ต่อการปฏิบัติการป้องกันและ อุบัติการณ์การสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งของพยาบาลห้องคลอด

Authors

  • สุคนธา วัฒนพงษ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลหนองฉาง
  • จิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

การสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่ง, กลยุทธ์หลายวิธี, พยาบาลห้องคลอด

Abstract

     พยาบาลที่ปฏิบัติงานในห้องคลอดมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อจากการสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่ง การปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันการติดเชื้อแบบมาตรฐานจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้กลยุทธ์หลายวิธีร่วมกันต่อการปฏิบัติการป้องกันและอุบัติการณ์การสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งของพยาบาลห้องคลอดในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง ดำเนินการวิจัย ตั้งแต่เดือนเมษายน ถึง กรกฎาคม พ.ศ. 2555 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือพยาบาลห้องคลอดจำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการให้ความรู้ คู่มือการปฏิบัติการป้องกันเลือดและสารคัดหลั่ง ในห้องคลอด โปสเตอร์เตือน แบบให้ข้อมูลย้อนกลับ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกการสังเกต และ
แบบบันทึกการสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่ง ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาของแบบบันทึกการสังเกตเท่ากับ .84 และค่าความเชื่อมั่นของการสังเกตเท่ากับ 1.0 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติไคสแควร์
     ผลการวิจัยพบว่า
     ภายหลังการใช้หลายกลยุทธ์ กลุ่มตัวอย่างมีการปฏิบัติที่ถูกต้องในการป้องกันการสัมผัสเลือดและ สารคัดหลั่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 35.60 เป็นร้อยละ 96.80 ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และไม่พบอุบัติการณ์การสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งของพยาบาลห้องคลอด
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การใช้หลายกลยุทธ์ช่วยให้พยาบาลห้องคลอดมีการปฏิบัติในการป้องกัน การสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งถูกต้องเพิ่มขึ้นและสามารถลดอุบัติการณ์การสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งในห้องคลอด

Downloads

Published

2016-06-30

How to Cite

วัฒนพงษ์ ส., จิตรีเชื้อ จ., & เกษตร์ภิบาล น. (2016). ผลของหลายกลยุทธ์ต่อการปฏิบัติการป้องกันและ อุบัติการณ์การสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งของพยาบาลห้องคลอด. Nursing Journal CMU, 43(2), 57–67. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/74629