ผลของกลยุทธ์แบบหลายวิธีในการพัฒนาการทำความสะอาดมือต่อความรู้ และการปฏิบัติการทำความสะอาดมือของบุคลากรสุขภาพ

Authors

  • เกศกาญจน์ มิกี้ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลพยาบาลสถานพระบารมี
  • วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พิกุล บุญช่วง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

กลยุทธ์แบบหลายวิธี, การทำความสะอาดมือ, บุคลากรสุขภาพ

Abstract

     การติดเชื้อในโรงพยาบาลเป็นปัญหาสำคัญที่พบในทุกโรงพยาบาล การทำความสะอาดมือเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลได้ แต่ก็ยังพบว่าบุคลากรสุขภาพยังมีการทำ ความสะอาดมือต่ำ การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลของกลยุทธ์แบบหลายวิธีในการพัฒนาการทำความสะอาดมือต่อความรู้และการปฏิบัติการทำ ความสะอาดมือ และความคิดเห็นของบุคลากรสุขภาพต่อกลยุทธ์แบบหลายวิธีในการพัฒนาการทำความสะอาดมือ ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน 2554 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ บุคลากรสุขภาพ จำนวน 23 คน ที่โรงพยาบาลพยาบาลสถานพระบารมีประกอบด้วย แพทย์ 2 คน และพยาบาลวิชาชีพ 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แผนการอบรม คู่มือ แบบวัดความรู้ แบบบันทึกการสังเกต แบบสอบถามความต้องการอุปกรณ์สนับสนุน และแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับกลยุทธ์แบบหลายวิธีเครื่องมือนี้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดความรู้ได้เท่ากับ 0.80 และค่าความเชื่อมั่นของการสังเกตได้เท่ากับ 1.0 กลยุทธ์ที่ใช้ในการพัฒนาการทำความสะอาดมือใช้แนวคิดขององค์การอนามัยโลกประกอบด้วย การอบรมให้ความรู้การเปลี่ยนระบบให้การทำความสะอาดมือเป็นเรื่องง่าย และสะดวก การสนับสนุนการดูแลผิวหนังที่มือ การสังเกตและให้ข้อมูลย้อนกลับ การเตือนในที่ทำงานและ การสร้างบรรยากาศที่ปลอดภัยในการทำงานระยะเวลาการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบที
และ สถิติฟิชเชอร์เอกแซคท์
     ผลการวิจัยพบว่า หลังการดำเนินกลยุทธ์แบบหลายวิธีในการพัฒนาการทำความสะอาดมือบุคลากรสุขภาพมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องการทำความสะอาดมือเพิ่มขึ้น จาก 11.30 เป็น 15.57 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และกลุ่มตัวอย่างมีการทำความสะอาดมือที่ไม่ถูกต้องจนกระทั่งปฏิบัติถูกต้อง เป็นร้อยละ 81.13 ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่ากลยุทธ์แบบหลายวิธีในการพัฒนาการทำความสะอาดมือมีประโยชน์ต่อหน่วยงาน และควรมีการดำเนินต่อไปในโรงพยาบาล โดยทุกกิจกรรมมีผลกระตุ้นส่งเสริมการทำความสะอาดมือ

     การวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่ากลยุทธ์ในการพัฒนาแบบหลายวิธีประกอบกันตามแนวคิดขององค์การ
อนามัยโลกทำให้บุคลากรสุขภาพมีความรู้และการปฏิบัติในการทำความสะอาดมือถูกต้องเพิ่มขึ้น

Downloads

Published

2016-06-30

How to Cite

มิกี้ เ., พิเชียรเสถียร ว., & บุญช่วง พ. (2016). ผลของกลยุทธ์แบบหลายวิธีในการพัฒนาการทำความสะอาดมือต่อความรู้ และการปฏิบัติการทำความสะอาดมือของบุคลากรสุขภาพ. Nursing Journal CMU, 43(2), 68–78. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/74633