ปัจจัยทำนายระดับไขมันในเลือดของผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติในชุมชน
Keywords:
ปัจจัยทำนาย, ระดับไขมันในเลือด, ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติAbstract
ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลก การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติจะช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้ การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของปัจจัย 5 ด้าน ได้แก่ การรับประทานอาหารการออกกำลังกาย การจัดการอารมณ์ การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา ที่มีผลต่อระดับไขมันในเลือด 4 ชนิด ได้แก่ โคเลสเตอรอลรวม ไตรกลีเซอไรด์ แอลดีแอลโคลสเตอรอล และ เอชดีแอลโคเลสเตอรอล กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติมารับ การรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสารภี จำนวน 163 คน โดยทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงกันยายน พ.ศ. 2556 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาของแบบสัมภาษณ์เท่ากับ 0.99 และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) อยู่ในช่วง 0.70-0.78 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและหาอำนาจการทำนายโดยใช้สถิติวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ
ผลการวิจัยพบว่า
มีเพียงปัจจัยการรับประทานอาหารเท่านั้นที่สามารถทำนายระดับไตรกลีเซอไรด์และเอชดีแอลโคเลสเตอรอล ได้ร้อยละ 5.00 และ 4.10 ตามลำดับ (R2= .050, p <.01 และ R2= .041, p<.01) แต่ปัจจัยการออกกำลังกาย การจัดการอารมณ์ การสูบบุหรี่ และการดื่มสุราไม่สามารถร่วมกันทำนายระดับโคเลสเตอรอลรวมและแอลดีแอลโคเลสเตอรอลได้ (R2= .019, p = .705 และ R
2= .023, p = .590)
ปัจจัยด้านการรับประทานอาหาร มีผลต่อการควบคุมระดับไขมันในเลือด ดังนั้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการรับประทานอาหารจึงสามารถควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงและการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้เสียชีวิตหรือความพิการ
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว