ผลของกลุ่มบำบัดแบบปรับความคิดและพฤติกรรมต่อความเครียดของนักศึกษาพยาบาล

Authors

  • วรภรณ์ ทินวัง พยาบาลวิชาชีพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง
  • ดาราวรรณ ต๊ะปินตา รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วรนุช กิตสัมบันท์ อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

กลุ่มบำบัดแบบปรับความคิดและพฤติกรรม, ความเครียดของนักศึกษาพยาบาล, นักศึกษาพยาบาล, Group Cognitive Behavior Therapy, Stress Among Student Nurses, Student Nurses

Abstract

บทคัดย่อ

ระหว่างการฝึกภาคปฏิบัติ นักศึกษาพยาบาลต้องประยุกต์ความรู้ที่เรียนมาใช้ดูแลผู้ป่วย ซึ่งต้องทำงานร่วมกับทีมสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคยและ ไม่มีประสบการณ์มาก่อน ดังนั้นจึงเกิดความเครียดและส่งผลทำให้ไม่สามารถใช้ศักยภาพ ในการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ การปรับความคิดและพฤติกรรมน่าจะเป็นอีกวิธีหนึ่งในการลด ความเครียดในนักศึกษาพยาบาล วัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงทดลองแบบ 2 กลุ่ม วัดซ้ำก่อน หลังการทดลอง เพื่อเปรียบเทียบความเครียดของนักศึกษาพยาบาล ระหว่างกลุ่มที่เข้ากลุ่ม บำบัดแบบปรับความคิดและพฤติกรรมและกลุ่มที่ไม่ได้ เข้ากลุ่มบำบัดแบบปรับความคิดและ พฤติกรรม คัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี ใน สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก 2 แห่ง จำนวน 34 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจงได้ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 17 คน จากวิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่งได้รับการบำบัดแบบปรับความคิด และพฤติกรรม ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างอีก 17 คนไม่ได้รับการบำบัดแบบปรับความคิดและ พฤติกรรม แผนกิจกรรมกลุ่มบำบัดแบบปรับความคิดและพฤติกรรมพัฒนาขึ้นตามแนวคิดการ ปรับเปลี่ยน ความคิดและพฤติกรรมของเบ็ค (Beck, 1995) และผ่านการตรวจสอบความตรง ตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ความเครียดวัดโดยใช้แบบวัดความเครียดสวนปรุง วัดความเครียด ในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลองทันที และหลังการทดลอง 1 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง

ผลการวิจัยพบว่า

1. ระยะก่อนการทดลอง กลุ่มที่เข้ากลุ่มบำบัดแบบปรับความคิดและพฤติกรรม และ กลุ่มที่ไม่ได้เข้ากลุ่มบำบัดแบบปรับความคิดและพฤติกรรม มีค่าเฉลี่ยความเครียด ไม่แตกต่างกัน

2. ระยะหลังการทดลองทันที กลุ่มที่เข้ากลุ่มบำบัดแบบปรับความคิดและพฤติกรรม มีค่าเฉลี่ย ความเครียด ต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เข้ากลุ่มบำบัดแบบปรับความคิดและ พฤติกรรม อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.01

3. ระยะหลังการทดลอง 1 เดือน กลุ่มที่เข้ากลุ่มบำบัดแบบปรับความคิดและพฤติกรรม มีค่าเฉลี่ยความเครียด ต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เข้ากลุ่มบำบัดแบบปรับความคิดและ พฤติกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า กลุ่มบำบัดแบบปรับความคิดและพฤติกรรม สามารถ ลดความเครียดในนักศึกษาพยาบาลได้ทั้งในระยะหลังการทดลองทันที และระยะหลังการ ทดลอง 1 เดือน ดังนั้น จึงควรสนับสนุนให้มีการนำกลุ่มบำบัดแบบปรับความคิดและพฤติกรรม ใช้ในการดูแล นักศึกษาพยาบาลที่มีความเครียดต่อไป

คำสำคัญ: กลุ่มบำบัดแบบปรับความคิดและพฤติกรรม ความเครียดของนักศึกษาพยาบาล นักศึกษา พยาบาล

 

Abstract

During a practicum placement student nurses are required to apply theoretical knowledge into a real life patient care in which they work with a health team in unfamiliar environments and patient care situations with no experience. As a result they experience stress which can in turn impair students’ learning ability. Cognitive behavior therapy may used to reduce stress among students during their placements. The objective of this quasi-experimental two-group pre-and post test study was to compare stress between students who received and those who did not receive cognitive behavior therapy (CBT). The purposive sample was comprised of 34 student nurses from two nursing colleges under Praboroomajachanok Institute. Through a purposive assignment, 17 students from one nursing college received a group CBT; whereas 17 students from the other college did not receive the therapy. The group CBT activity plan was based on Beck’s concept (1995) and validated by three experts. Using Suanprung Stress Test,stress was measured before, immediately after, and one month after the experiment. Two-way ANOVA was used to analyze the data.

The results of study

1. Before the experiment, the CBT group and no-CBT group did not diff er in their mean stress score.

2. Immediately after the experiment, the CBT group had a signifi cantly lower mean stress score than the no-CBT group (p < 0.01)

3. One month after the experiment, the CBT group had a signifi cantly lower mean stress score than the no-CBT group (p = 0.01)

The results suggest that CBT may be eff ective in reducing stress among student nurses immediately and one month after the therapy, and thus be considered as therapy for student nurses experiencing stress.

Key words: Group Cognitive Behavior Therapy, Stress Among Student Nurses, Student Nurses

Downloads

How to Cite

ทินวัง ว., ต๊ะปินตา ด., & กิตสัมบันท์ ว. (2013). ผลของกลุ่มบำบัดแบบปรับความคิดและพฤติกรรมต่อความเครียดของนักศึกษาพยาบาล. Nursing Journal CMU, 39(1), 131–145. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/7464