วัฒนธรรมองค์กรและคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลในโรงพยาบาลตติยภูมิ มณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
Keywords:
วัฒนธรรมองค์กร, คุณภาพชีวิตการทำงาน, พยาบาลโรงพยาบาลตติยภูมิAbstract
คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรด้านสุขภาพเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของระบบบริการสุขภาพเพื่อบรรลุผลลัพธ์เชิงบวกขององค์กร การศึกษาพบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาล วัตถุประสงค์ของการศึกษาเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้เพื่ออธิบายลักษณะวัฒนธรรมองค์กรและระบุระดับของคุณภาพชีวิตการทำงานรวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรในแต่ละด้านกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลในโรงพยาบาลตติยภูมิ มณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลจำนวน 416 คนจากโรงพยาบาลตติยภูมิ6 แห่งในมณฑลยูนนาน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินวัฒนธรรมองค์กรและแบบวัดคุณภาพชีวิต
การทำงาน ค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินวัฒนธรรมองค์กรและแบบวัดคุณภาพชีวิตการทำงานคือ .93 และ .91 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สเปียร์แมน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ลักษณะของวัฒนธรรมองค์กรใน 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การแข่งขัน การมุ่งเน้นผลการปฏิบัติงาน ความมั่นคง และความรับผิดชอบต่อสังคมมีความโดดเด่น ส่วนวัฒนธรรมองค์กรในอีก 3 องค์ประกอบได้แก่ด้านการสนับสนุน นวัตกรรม และการเน้นการให้รางวัลมีความโดดเด่นน้อยกว่า คะแนนเฉลี่ยโดยรวมของคุณภาพชีวิตการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง
องค์ประกอบ 2 ประการของวัฒนธรรมองค์กรได้แก่ การสนับสนุนและการเน้นการให้รางวัลมีความสัมพันธ์ในระดับมากกับคุณภาพชีวิตการทำงาน อีก 2 องค์ประกอบคือนวัตกรรมและความมั่นคงมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับคุณภาพชีวิตการทำงาน ส่วนอีก 3 องค์ประกอบได้แก่การแข่งขัน การมุ่งเน้นผลการปฏิบัติงานและความรับผิดชอบต่อสังคมมีความสัมพันธ์ระดับต่ำกับคุณภาพชีวิตการทำงาน
ผลของการศึกษาครั้งนี้สามารถเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับผู้บริหารการพยาบาลและผู้บริหาร โรงพยาบาลในการพัฒนานโยบายและกลยุทธ์ด้านการบริหารเพื่อเพิ่มปรับปรุงวัฒนธรรมองค์กรของพยาบาลอันจะเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลต่อไป
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว