การพัฒนาหุ่นจำลองเพื่อฝึกทักษะทางคลินิกของนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

Authors

  • สุสันหา ยิ้มแย้ม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

หุ่นจำลอง, การฝึกทักษะทางคลินิก, วิทยาศาสตร์สุขภาพ

Abstract

หุ่นจำลองที่เลียนแบบเสมือนจริงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นเพื่อใช้ในกระบวนการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งผู้เรียนต้องเรียนรู้ถึงโครงสร้างและทักษะทางกายภาพ การทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายอย่างถูกต้องและแม่นยำ รวมทั้งฝึกทักษะเพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจ และสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้เรียนก่อนที่จะปฏิบัติจรงกับผู้ป่วย อันจะเป็นผลดีและปลอดภัยแกผู้ป่วยด้วยหุ่นจำลองในสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่เปิดสอนทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ แต่บางสถาบันพยายามแก้ปัญหาด้วยการผลิตหุ่นจำลองใช้เอง นอกจากนี้หุ่นจำลองส่วนใหญ่ผลิตจากสารสังเคราะห์จำพวก เรซิ่น ไฟเบอร์กลาส และ/หรือซิลิโคน ซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ต้นทนในการผลิตจึงค่อนข้างสูง และอาจจะก่อให้เกิดปัญหาในการดูแลเก็บรักษา รวมทั้งทำให้หุ่นจำลองที่มีส่วนประกอบทำด้วยสารสังเคราะห์บางอย่างเสื่อมสภาพได้ง่าย เพราะสภาพภูมิอากาศที่แตกต่าง จึงมีการพยายามในการค้นหาสารธรรมชาติอื่นทดแทน ตัวอย่างเช่น ยางพารา ที่มีพืชที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นประเทศไทยและราคาถูกกว่า การนำสารธรรมชาติยางพารามาใช้ผลิตเป็นหุ่นจำลองทดแทนวัสดุสารสังเคราะห์จึงก่อให้เกิดประโยชน์และมีคุณค่าทางวิชาการอย่างยิ่งและยังเป็นการสนับสนุนนโยบายรัฐขั้นตอนการพัฒนาหุ่นจำลองประกอบด้วย 1) การรวบรวมข้อมูลและความต้องการในการใช้ 2) ออกแบบร่างหุ่นจำลอง 3) การสร้างต้นแบบ 4) การประเมินผล หากได้ผลดี ก็นำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ได้เลย ถ้ายังไม่ดีจะเข้าสู่ 5) การปรับปรุงผลิตใหม่ จนเป็นที่พึงพอใจ 6)ผลิตภัณฑ์ ที่มีคุณภาพตามต้องการ ซึ่งในการประเมินคุณภาพของหุ่นจำลองที่พัฒนาขึ้นโดยใช้เกณฑ์มาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับเป็นแนวทางในการประเมิน

Downloads

Published

2016-06-30

How to Cite

ยิ้มแย้ม ส. (2016). การพัฒนาหุ่นจำลองเพื่อฝึกทักษะทางคลินิกของนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ. Nursing Journal CMU, 43(2), 142–151. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/74649