ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ที่มีข้อเข่าเสื่อมที่รักษาทางการแพทย์แผนไทย

Authors

  • วาสนา กรุดไทย พยาบาลวิชาชีพ วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก จังหวัดนนทบุรี
  • ธีรนุช ห้านิรัติศัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • มัณฑนา ดำรงศักดิ์ อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Keywords:

ปัจจัยทำนาย, คุณภาพชีวิต, ผู้ที่มีข้อเข่าเสื่อม, การรักษาทางการแพทย์แผนไทย, Predictors, Quality of Life, Osteoarthritis of Knee, Thai Traditional Medicine

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงวิเคราะห์ความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนาย คุณภาพชีวิตของผู้ที่มีข้อเข่าเสื่อมที่รักษาทางการแพทย์แผนไทย โดยเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 137 ราย ที่มารับบริการที่คลินิกการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาล บ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วน บุคคล 2) แบบวัดการทำหน้าที่ของข้อเข่า ของ WOMAC (WOMAC Index) ประเมินความ รุนแรงของข้อเข่าเสื่อม 3) แบบวัดความเข้มแข็งในการ มองโลก และ 4) แบบวัดคุณภาพ ชีวิตผู้ที่มีข้อเข่าอักเสบ (Quality of Life Index Arthritis Version - III) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.95, 0.78 และ 0.89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ บรรยาย สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ไคสแควร์ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบ พหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ความรุนแรงของข้อเข่าเสื่อม อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 75.43 (S.D. = 20.30) ความเข้มแข็งในการมองโลกอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 85.61 (S.D. = 12.76) และมี คุณภาพชีวิตอยู่ในระดับสูง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 22.21 (S.D.= 3.16) และ

2. ความรุนแรงของข้อเข่าเสื่อม และความเข้มแข็งในการมองโลก มีความสัมพันธ์กับ คุณภาพชีวิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และเมื่อวิเคราะห์การถดถอยพหุ คุณแบบขั้นตอน พบว่า เพศ อายุ ดัชนีมวลกาย จำนวนครั้งที่รักษา ความรุนแรงของข้อ เข่าเสื่อม และความเข้มแข็งในการมองโลก สามารถทำนายคุณภาพชีวิตของ ผู้ที่มีข้อเข่า เสื่อมที่รักษาทางการแพทย์แผนไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 8.565, p < 0.001) โดยสามารถร่วมทำนายได้ร้อยละ 28.3 โดยความเข้มแข็งในการมองโลกเป็นปัจจัยที่มี ความสำคัญ ในการทำนายคุณภาพชีวิต

พยาบาลควรเน้นถึงการส่งเสริมความเข้มแข็งในการมองโลก เพื่อการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่รักษาทางการแพทย์แผนไทย

คำสำคัญ : ปัจจัยทำนาย คุณภาพชีวิต ผู้ที่มีข้อเข่าเสื่อม การรักษาทางการแพทย์แผนไทย

 

Abstract

The aim of this analytic correlation study was to explore the factors predicting quality of life among persons with osteoarthritis of knee and receiving Thai traditional medicine. The purposive sample of 137 persons with osteoarthritis of knee was selected from the Thai Traditional Medicine Clinic in Banlad hospital in Petchaburi Province. The research instruments were the demographic questionnaire, the WOMAC index used for severity assessment, the Sense of Coherence Questionnaire, and the Quality of Life Index Arthritis Version - III. Their reliabilities, using Cronbach, s alpha coeffi cient, were 0.94, 0.78 and 0.89, respectively. Data were analyzed using descriptive statistics, Chi-square, Pearson’s product moment correlation coeffi cient, and stepwise multiple regressions were used to analyze the data obtained.

The results of study

1. the level severity of knee Osteoarthritis and the level of sense of coherence were moderate ( = 75.43, S.D. = 20.30), ( = 85.61, S.D. = 12.76). The level of overall quality of life were high ( = 22.21, S.D. = 3.16).

2. Severity of knee arthritis and sense of coherence were statistically signifi cant associated with quality of life (p < 0.05) All factors including gender, age, BMI, the number of cure, severity of knee arthritis, and sense of coherence signifi cantly predict quality of life (F = 8.565, p < 0.001) accounting for 28.3 percent. Sense of coherence was an important factor to predict Quality of Life.

Nurses should emphasize on sense of coherence in developing quality of life among persons with osteoarthritis of knee and receiving Thai traditional medicine.

Key words: Predictors, Quality of Life, Osteoarthritis of Knee, Thai Traditional Medicine

Downloads

How to Cite

กรุดไทย ว., ห้านิรัติศัย ธ., & ดำรงศักดิ์ ม. (2013). ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ที่มีข้อเข่าเสื่อมที่รักษาทางการแพทย์แผนไทย. Nursing Journal CMU, 39(1), 146–157. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/7467