การจัดการกับการรับรสเปลี่ยนแปลงในเด็กป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด

Authors

  • ศุภลักษณ์ อยู่ยอด อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ศรีพรรณ กันธวัง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • จุฑารัตน์ มีสุขโข คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

เด็กป่วยโรคมะเร็ง, การจัดการกับการรับรสเปลี่ยนแปลง, เคมีบำบัด

Abstract

     การรับรสเปลี่ยนแปลงจากการได้รับยาเคมีบำบัดส่งผลให้เด็กป่วยโรคมะเร็งได้รับความทุกข์ทรมานทั้งด้านร่างกายและจิตใจวัตถุประสงค์ของการศึกษาเชิงพรรณนานี้คือ เพื่อศึกษากลวิธีจัดการกับอาการ และผลลัพธ์ของการจัดการกับการรับรสเปลี่ยนแปลงในเด็กป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กป่วยโรคมะเร็งอายุ 8-15 ปี ที่ได้รับยาเคมีบำบัดขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 3 แห่ง ระหว่างเดือนธันวาคม 2555 ถึงพฤษภาคม 2556 จำนวน 29 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงเครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามกลวิธีการจัดการกับอาการ และแบบสอบถามผลลัพธ์ของการจัดการกับการรับรสเปลี่ยนแปลงที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากแนวคิดการจัดการกับอาการของดอดและคณะ (Dodd 
et al.,2001) ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหา และได้มีการทดสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาผลการวิจัยมีดังนี้
     ผลการวิจัยเกี่ยวกับกลวิธีการจัดการกับการรับรสเปลี่ยนแปลงที่ทำ โดยเด็กป่วย พบว่าเด็กป่วย ส่วนใหญ่บอกให้บิดามารดาทราบเมื่อเกิดอาการขึ้น (ร้อยละ 75.9) ไม่ได้บอกให้พยาบาลหรือแพทย์ทราบเมื่อเกิดอาการ (ร้อยละ86.2) ขอให้บิดามารดาจัดอาหารอ่อนหรือเหลวมาให้(ร้อยละ 95.5)และแปรงฟันก่อนและหลังการรับประทานอาหาร(ร้อยละ 86.2) สำหรับกลวิธีการจัดการกับการรับรสเปลี่ยนแปลงที่ทำ
โดยบิดามารดา พบว่าเด็กป่วยส่วนมากรายงานว่าบิดามารดากระตุ้นให้ดื่มน้ำ ก่อนและขณะที่เด็กป่วยรับประทานอาหาร(ร้อยละ96.5) และดูแลช่วยเหลือและกระตุ้นในการแปรงฟัน ก่อนและหลังรับประทานอาหาร (ร้อยละ93.1) ในส่วนกลวิธีการจัดการกับการรับรสเปลี่ยนแปลงที่ทำโดยพยาบาล พบว่าเด็กป่วยส่วนใหญ่รายงานว่าพยาบาลสอบถามเกี่ยวกับการรับรสชาติของอาหารหรือเครื่องดื่ม (ร้อยละ79.3) ให้คำ
แนะนำแก่เด็กป่วย ในเรื่องการรับประทานอาหาร (ร้อยละ 86.2)ให้คำแนะนำ แก่บิดามารดาในเรื่องการรักษาความสะอาดในช่องปาก (ร้อยละ89.7) และจัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำ ความสะอาดช่องปากมาให้(ร้อยละ96.5) ผลการวิจัยเกี่ยวกับผลลัพธ์ของการจัดการกับการรับรสเปลี่ยนแปลง พบว่าสองในสามของเด็กป่วย(ร้อยละ 62.1)รายงานว่ากิจกรรมที่ทำ โดยเด็กป่วย บิดามารดา และพยาบาล ช่วยให้เด็กป่วยสามารถรับรสชาติของอาหารและเครื่องดื่มดีขึ้นน้อย และสามารถรับประทานอาหารและดื่มน้ำดีขึ้นน้อย
     ผลการวิจัยนี้ทำให้ได้ความรู้เกี่ยวกับกลวิธีการจัดการกับการรับรสเปลี่ยนแปลงและผลลัพธ์ของการจัดการกับการรับรสเปลี่ยนแปลงซึ่งพยาบาลสามารถนำผลวิจัยไปใช้ในการวางแผนการจัดการกับการรับรสเปลี่ยนแปลงร่วมกับเด็กป่วยและบิดามารดา และในการวิจัยเพื่อการจัดการกับการรับรสเปลี่ยนแปลงต่อไป

Downloads

Published

2016-06-30

How to Cite

อยู่ยอด ศ., กันธวัง ศ., & มีสุขโข จ. (2016). การจัดการกับการรับรสเปลี่ยนแปลงในเด็กป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด. Nursing Journal CMU, 43(2). Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/74782