การวิเคราะห์สถานการณ์การฝากครรภ์ไม่ครบตามเกณฑ์ของหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลระนอง
Keywords:
การวิเคราะห์สถานการณ์, การฝากครรภ์ไม่ครบตามเกณฑ์, Analysis of the Situation, Inadequate Prenatal Care CriteriaAbstract
บทคัดย่อ
การฝากครรภ์เป็นการส่งเสริมสุขภาพ เฝ้าระวังภาวะเสี่ยง และให้การดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนในระยะ ตั้งครรภ์ โดยกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้หญิงตั้งครรภ์ควรฝากครรภ์ตามเกณฑ์อย่างน้อย 4 ครั้ง ร้อยละ 90 อย่างไรก็ตามหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์ของโรงพยาบาลระนอง ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย และยังไม่มีการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง การศึกษาเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ หาสาเหตุของปัญหาการฝากครรภ์ไม่ครบตามเกณฑ์ของหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลระนอง ตามแนวคิดของโดนาบีเดียน (Donabedian, 2003) กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารโรงพยาบาล จำนวน 2 ราย บุคลากรสุขภาพที่ปฏิบัติ งานคลินิกฝากครรภ์ จำนวน 9 ราย และหญิงตั้งครรภ์ที่ฝากครรภ์ไม่ครบตามเกณฑ์จำนวน 9 ราย เครื่องมือที่ ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แนวทางการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการจัดกลุ่มข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า
สาเหตุของการฝากครรภ์ไม่ครบตามเกณฑ์เกี่ยวข้องทั้งด้านโครงสร้างและด้านกระบวนการ ด้านโครงสร้าง ได้แก่ 1) การบริหารงานขององค์กรคือ การมอบหมายนโยบายไม่ทั่วถึงและการสนับสนุนด้านงบประมาณที่ไม่ต่อ เนื่อง 2) ทรัพยากรบุคคลคือ จำนวนบุคลากรตามคุณลักษณะวิชาชีพไม่เพียงพอ ด้านกระบวนการได้แก่ 1) กระบวนการด้านเทคนิคคือ ระบบบริการฝากครรภ์ไม่ชัดเจนและขั้นตอนบริการที่ใช้เวลานาน 2) ปฏิสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลคือ การสื่อสารที่ไม่ชัดเจนระหว่างบุคลากรและหญิงตั้งครรภ์ นอกจากนั้นยังมีปัจจัยส่วนบุคคลของ หญิงตั้งครรภ์ ได้แก่ การรับรู้ของหญิงตั้งครรภ์ ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ปัญหาภาระงาน และการคมนาคมที่ไม่ สะดวก
ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อวางแผนแก้ไขสถานการณ์การฝากครรภ์ไม่ครบตาม เกณฑ์ของหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลระนอง
คำสำคัญ: การวิเคราะห์สถานการณ์ การฝากครรภ์ไม่ครบตามเกณฑ์
Abstract
Antenatal care is health promotion, high risk screening, and management for the complications during pregnancy. The Ministry of Health declared that pregnant women should receive prenatal care at least four times during pregnancy 90 percent. Nevertheless, pregnant women in the Ranong Hospital do not meet the criteria and there has been no analysis of the actual problem. The purpose of this descriptive study was to analyze causes of problem regarding inadequate antenatal visits among pregnant women in Ranong Hospital, based on the concept of Donabedian (2003). The samples were two hospital administrators, nine health personnel who worked at the prenatal care clinic and nine pregnant women who received inadequate antenatal visits. The research instrument was the interview guideline. Data were analyzed using descriptive statistics and content grouping.
The results of study
The causes of inadequate antenatal visits among pregnant women related to both of the structure and process. The structure consisted of 1) the organizational administration, which included unthrough assignment and noncontinuous policy support; and 2) human resources, which was an insufficient number of qualified professional personnel. The process comprised of 1) the technical process, which included the unclear prenatal care services process and the prolonged steps of prenatal care services; and 2) the interaction between individuals owing to unclear communication between personnel and pregnant women. Moreover, there were also personal factors of the pregnant women including recognition of pregnancy, economic issues, workload issues, and the inconvenience of transportation.
The results of this study can be used as the fundamental data for planning to solve the situation of unmet criteria of prenatal care in the Ranong Hospital.
Key words: Analysis of the Situation, Inadequate Prenatal Care Criteria
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว