ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการดูแลสตรีที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดหน่วยงานห้องคลอด โรงพยาบาลสุโขทัย

Authors

  • ณัฏฐมณฑน์ โกศัย พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
  • ฉวี เบาทรวง รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • กรรณิการ์ กันธะรักษา รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

การใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก, ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด, Implementing Clinical Practice Guidelines, Preterm Labor

Abstract

บทคัดย่อ

ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดส่งผลกระทบอย่างมากต่อภาวะสุขภาพของมารดาและทารก และยังเป็น สาเหตุนำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการตายปริกำเนิดและภาวะทุพลภาพของ ทารกแรกเกิด ดังนั้นการดูแลที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดผลกระทบดังกล่าว จึงมีความจำเป็นอย่างมาก การศึกษาเชิง เปรียบเทียบ ชนิดศึกษาย้อนหลัง และไปข้างหน้าแบบไม่ควบคุมก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการดูแลสตรีที่มีภาวะเจ็บครรภ์ คลอดก่อนกำหนดในหน่วยงานห้องคลอด โรงพยาบาลสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย สตรีตั้งครรภ์ที่อายุ ครรภ์ 28-37 สัปดาห์ ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด และได้รับการดูแลตามปกติ ระหว่างเดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552 จำนวน 89 คน และกลุ่มตัวอย่างสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลโดยใช้แนวปฏิบัติ ทางคลินิก ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 จำนวน 110 คน เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการศึกษา คือ แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดในห้องคลอด ของภาค วิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พ.ศ. 2550 การดำเนินการศึกษาใช้กรอบแนวคิด การนำแนวปฏิบัติทางคลินิกไปใช้ของสมาคมพยาบาลออนทาริโอ (2002) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกจำนวนการเกิดการคลอดก่อนกำหนด แบบบันทึกจำนวนการยืดระยะเวลาการตั้งครรภ์ และแบบบันทึก จำนวนการกลับมารักษาซ้ำด้วยภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาและสถิติ ทดสอบฟิชเชอร์

ผลการวิจัยพบว่า

สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ที่ได้รับการดูแลโดยใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก มีสัดส่วน การเกิดการคลอดก่อนกำหนดน้อยกว่า และสัดส่วนการยืดระยะเวลาการตั้งครรภ์ มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05 แต่สัดส่วนการกลับมารักษาซ้ำ พบว่าไม่แตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับ การดูแลตามปกติ

ผลการศึกษาครั้งนี้ยืนยันได้ว่าการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะ เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด สามารถเพิ่มผลลัพธ์ที่มีคุณภาพได้

คำสำคัญ: การใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด

 

Abstract

Preterm labor has significant impacts on the health of both mother and newborn. It is a leading cause of preterm birth, which is the major cause of neonatal mortality and morbidity. Therefore, an effective care is needed to alleviate such aforementioned impacts. This comparative, retrospective and prospective uncontrolled before and after intervention study was conducted to determine the effectiveness of implementing clinical practice guidelines (CPGs) for care of women with preterm labor in the labor unit, Sukhothai hospital. The study samples consisted of 89 pregnant women with preterm labor who received usual nursing care between October and December 2009 and 110 pregnant women with preterm labor who received care based on the CPGs between March and May 2010. The instrument was the CPGs for care of women with preterm labor in labor unit developed by the Department of Obstetrics and Gynecology, Faculty of Medicine, Mahidol University (2007). The implementation of the CPGs model of Registered Nurse Association of Ontario (2002) was applied as a framework for this study. Data collection tools consisted of preterm birth record form, extension gestational age record form and readmission record form. Data were analyzed by using descriptive statistics and the Fisher’s exact probability test.

The results of study

Revealed that the pregnant women in the CPGs implementing group had significantly less proportion of preterm birth and higher proportion of prolonged gestational age (p< .05) but there was no difference in the proportion of readmission when compared with the pregnant women who received usual nursing care.

The results confirm that implementation of CPGs for care of women with preterm labor can lead to improved quality outcome.

Key words: Implementing Clinical Practice Guidelines, Preterm Labor

Downloads

How to Cite

โกศัย ณ., เบาทรวง ฉ., & กันธะรักษา ก. (2013). ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการดูแลสตรีที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดหน่วยงานห้องคลอด โรงพยาบาลสุโขทัย. Nursing Journal CMU, 38(3), 30–41. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/7484