ผลของกลุ่มสนับสนุนต่อการมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กของบิดามารดาเด็กที่เข้ารับการรักษา ในหอผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรม

Authors

  • ดรุณี ท่วมเพ็ชร พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดหาดใหญ่
  • สุธิศา ล่ามช้าง รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ศรีพรรณ กันธวัง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

กลุ่มสนับสนุน, การมีส่วนร่วม, การดูแลเด็ก, บิดามารดา, หอผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรม, Support Group, Participation, Child Care, Parents, Pediatric Intensive Care Unit

Abstract

บทคัดย่อ

การเข้ารับรักษาในหอผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรมของเด็กมีผลกระทบต่อเด็กและบิดามารดา การมีส่วน ร่วมในการดูแลเด็กของบิดามารดาสามารถช่วยลดผลกระทบดังกล่าวได้ การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของกลุ่มสนับสนุนต่อการมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กของบิดามารดาเด็กที่เข้ารับการรักษาในหอ ผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรม กลุ่มตัวอย่างคือ บิดามารดาของเด็กป่วยแรกเกิดถึง 15 ปี ที่เข้ารับการรักษาในหอ ผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลหาดใหญ่ ระหว่างตุลาคม พ.ศ. 2552 ถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 24 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 12 ราย กลุ่มทดลองได้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสนับสนุน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยคือ แผนการดำเนินกิจกรรมกลุ่มและแบบประเมินการมีส่วนร่วมของบิดามารดาในการดูแลเด็กป่วย ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรมของไกรวรร กาพันธ์ (2552) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนา สถิติแมน-วิทนีย์ยู และสถิติวิลคอกซัน

ผลการวิจัยพบว่า

1. กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กโดยรวม และการมีส่วนร่วมในการดูแล 3 ด้านคือ ด้านกิจกรรมที่ทำประจำ ด้านกิจกรรมการพยาบาล และด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูล มากกว่ากลุ่ม ควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01, 0.01, 0.01, และ 0.05 ตามลำดับ

2. กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กของบิดามารดา ภายหลังได้รับการเข้ากลุ่ม สนับสนุนโดยรวม และการมีส่วนร่วมในการดูแล 4 ด้านคือ ด้านกิจกรรมที่ทำประจำ ด้านกิจกรรมการพยาบาล ด้าน การแลกเปลี่ยนข้อมูล และด้านการตัดสินใจ มากกว่าก่อนเข้ากลุ่มสนับสนุนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01

ผลการวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่ากลุ่มสนับสนุน สามารถส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบิดามารดาในการดูแล เด็กเข้ารับรักษาในหอผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรม ดังนั้นจึงเสนอแนะให้นำกลุ่มสนับสนุนไปใช้เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบิดามารดาในการดูแลเด็กต่อไป

คำสำคัญ: กลุ่มสนับสนุน การมีส่วนร่วม การดูแลเด็ก บิดามารดา หอผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรม

 

Abstract

The admission into the pediatric intensive care unit (PICU) has an effect on children and their parents. Parent’s participation in child care could reduce the effect. The purpose of this quasi-experimental study was to determine the effect of a support group on parent’s participation in child care in a pediatric intensive care unit. The subjects consisted of 24 parents of critically ill children aged from newborn to 15 years admitted into the PICU, Hatyai hospital during October 2009 to February 2010. The subjects were selected by purposive sampling, then divided into experimental and control group with 12 parents in each group. The experimental group attended the support group activities, whereas the control group received routine nursing care. The research instruments included the Support Group Activity Plan and the Parent Participation Scale in Caring for Critically Ill Children in PICU of Kaphan (2009). Data were analyzed using descriptive statistics, the Mann-Whitney U test and the Wilcoxon matched-pairs signed ranks test.

The result of study

1. The mean scores of total participation in child care and participation in three aspects of care including routine care, technical care and information sharing of the experimental group, were statistically significantly higher than those of the control group (p<0.01, 0.01,0.01 and 0.05 respectively).

2. After attending the support group activities, the mean scores of total participation in child care and participation in four aspects of care including routine care, technical care, information sharing and decision-making of the experimental group, were statistically significantly higher than before (p<0.01).

The findings of the study indicate that a support group could enhance parent’s participation in child care at a pediatric intensive care unit. Therefore, implementation is suggested as an alternative to promote participation of parents in caring for their children.

Key words: Support Group, Participation, Child Care, Parents, Pediatric Intensive Care Unit

Downloads

How to Cite

ท่วมเพ็ชร ด., ล่ามช้าง ส., & กันธวัง ศ. (2013). ผลของกลุ่มสนับสนุนต่อการมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กของบิดามารดาเด็กที่เข้ารับการรักษา ในหอผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรม. Nursing Journal CMU, 38(3), 61–72. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/7486