ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการให้นมมารดาอย่างต่อเนื่องของมารดาทารกเกิดก่อนกำหนด
Keywords:
ทารกเกิดก่อนกำหนด, การให้นมมารดาอย่างต่อเนื่อง, ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการให้นมมารดาอย่างต่อเนื่อง, Preterm Infants, Continued Breast Feeding, Factors Related to Continued Breast FeedingAbstract
บทคัดย่อ
นมมารดาเป็นอาหารที่สำคัญต่อการทำงานของลำไส้และการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกเกิด ก่อนกำหนด การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการให้นมมารดาอย่างต่อเนื่องของมารดา ทารกเกิดก่อนกำหนด ได้แก่ ความรู้เรื่องการเลี้ยงทารกเกิดก่อนกำหนดด้วยนมมารดา สมรรถนะแห่งตน ของมารดาในการเลี้ยงทารกเกิดก่อนกำหนดด้วยนมมารดา การสนับสนุนทางสังคมจากสามี บุคคลในครอบครัว และบุคคลากรทีมสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเลือกแบบเจาะจงเป็นมารดาของทารกเกิดก่อนกำหนด อายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์และทารกได้รับการจำหน่ายกลับไปอยู่บ้านอย่างน้อย 1 เดือน มารับบริการตรวจ สุขภาพที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล 4 แห่งโดยแบ่งตามสัดส่วนจำนวนของมารดาที่มารับบริการได้กลุ่ม ตัวอย่างที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่จำนวน 66 คน โรงพยาบาลนครพิงค์จำนวน 54 คน โรงพยาบาล ลำปางจำนวน 54 คน และโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์จำนวน 67 คน รวมจำนวน 241 คน เครื่องมือ ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามความรู้เรื่องการเลี้ยงทารกเกิดก่อนกำหนดด้วยนมมารดาซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น แบบสอบถามสมรรถนะแห่งตนของมารดาในการเลี้ยงทารกเกิดก่อนกำหนดด้วยนมมารดาที่ผู้วิจัยดัดแปลงมาจาก เครื่องมือสมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงทารกด้วยนมมารดาของเดนนิส (Dennis, 2003) แบบสอบถามการสนับสนุน ทางสังคมจากสามี บุคคลในครอบครัว และบุคคลากรทีมสุขภาพในการให้นมทารกเกิดก่อนกำหนดที่ผู้วิจัย ดัดแปลงมาจากเครื่องมือการสนับสนุนการเลี้ยงทารกด้วยนมมารดาของอาจารี สุริยขันธ์ (2548) และการทบทวน วรรณกรรม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพอยท์ ไบซีเรียล
ผลการวิจัยพบว่า
การให้นมมารดาอย่างต่อเนื่องของมารดาทารกเกิดก่อนกำหนดมีความสัมพันธ์กับความรู้เรื่องการเลี้ยงทารก ด้วยนมมารดาและสมรรถนะแห่งตนของมารดาในการให้นมมารดาแก่ทารกเกิดก่อนกำหนด การสนับสนุนทางสังคม จากสามี การสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลในครอบครัว และการสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลากรทีมสุขภาพอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ rpb = 0.149 ( p < 0.05) และ rpb = 0.713, 0.438, 0.305, 0.365 (p < 0.001) ตามลำดับ
การให้นมมารดาอย่างต่อเนื่องในทารกเกิดก่อนกำหนดขึ้นอยู่กับความรู้ สมรรถนะแห่งตน การสนับสนุนทาง สังคม ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมการให้นมมารดาอย่างต่อเนื่องแก่ทารกเกิดก่อนกำหนด และใช้กับการศึกษาที่เกี่ยวข้องต่อไป
คำสำคัญ: ทารกเกิดก่อนกำหนด การให้นมมารดาอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการให้นมมารดาอย่างต่อเนื่อง
Abstract
Breast milk is necessary for intestinal function and growth and development of preterm infants. This study aimed to investigate factors related to continued breast feeding among mothers with preterm infants including preterm infant breastfeeding knowledge, mother’s self-efficacy for preterm infant breastfeeding, and social support from husband, family members, and health care staff. Sample was purposively selected using two criteria: being mothers of preterm infants with gestational age less than 37 weeks and the infants had been discharged from hospital for at least one month. The 241 samples were recruited when they visited outpatient pediatric department of 4 hospitals, based on the proportion of maternal visits, including 66 from Maharaj Nakorn Chiang Mai hospital, 54 from Nakorn Ping hospital, 54 from Lampang hospital and 67 from Chiangrai Regional hospital. Research instruments included the breastfeeding knowledge questionnaire, the mother’s self efficacy questionnaire modified from Dennis (2003), the questionnaire of social support from husbands, family members and health care staff, which was modified from Suriyakhan’s (2005) questionnaire and literature reviews. Data were analyzed using descriptive statistics and point biserial correlation.
The results of study
Showed that the continuation of breastfeeding in mothers with preterm infants were statistically significantly correlated with mother’s breastfeeding knowledge (rpb = 0.149, p < 0.05), mother’s self efficacy (rpb = 0.713, p < 0.001), support from husband (rpb = 0.438, p < 0.001), support from family members (rpb = 0.305, p < 0.001) and support from health care staff (rpb = 0.365, p < 0.001).
The continuation of breastfeeding among mothers with preterm infants is related to mother’s knowledge of breastfeeding, mother’s self efficacy, and social support. The results of this study can be applied to the promotion of the continuation of breastfeeding among mothers with preterm infants and to further related research.
Key words: Preterm Infants, Continued Breast Feeding, Factors Related to Continued Breast Feeding
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว