การประเมินผลโครงการรณรงค์ต่อต้านความรุนแรงในบุคลากรสตรี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Authors

  • กิ่งฟ้า แสงลี อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • เกสรา ศรีพิชญาการ รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ปิยะภรณ์ ประสิทธิ์วัฒนเสรี อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

การประเมินผล, การรณรงค์ต่อต้านความรุนแรง, ความรู้, ทัศนคติ, บุคลากรสตรี, Evaluation, Anti-violence Campaign, Knowledge, Attitude, Working Women

Abstract

บทคัดย่อ

ความรุนแรงในครอบครัวเป็นปัญหาที่ส่งผล กระทบต่อสุขภาพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เกิดขึ้นได้ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว คณะผู้วิจัยได้ตระหนักถึงผลกระทบดังกล่าวจึงได้จัดโครงการรณรงค์ต่อต้านความ รุนแรงในบุคลากรสตรี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อสำรวจผลของการจัดโครงการต่อความ รู้และทัศนคติเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว และสิ่งที่ได้เรียนรู้ทางเชิงบวกและลบจากการจัดโครงการ โดย เลือกกลุ่มตัวอย่างตามสะดวกแล้วสุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มที่ได้รับความรู้จากการสอนเป็นกลุ่มและกลุ่มที่ได้รับความ รู้จากการฟังเทป จำนวน 5-8 คนต่อกลุ่ม กลุ่มที่ได้รับความรู้จากการสอนเป็นกลุ่มใช้วิธีการสอนแบบอภิปราย กลุ่มย่อย มีแผ่นภาพประกอบการสอนและมีเอกสารความรู้ให้อ่านภายหลังสิ้นสุดการสอน กลุ่มที่ได้รับความรู้จาก การฟังเทป ให้ฟังเทปบันทึกเสียงร่วมกับมีเอกสารความรู้ประกอบ และซักถามข้อสงสัยภายหลังการฟัง ทั้งสอง กลุ่มได้รับความรู้ครั้งเดียวดำเนินการเก็บข้อมูลจนครบ 60 คน แยกเป็นกลุ่มที่ได้รับความรู้จากการสอนเป็นกลุ่ม 30 คนและกลุ่มที่ได้รับความรู้จากการฟังเทป 30 คน แบบสอบถามความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับความรุนแรงใน ครอบครัว ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และตรวจสอบความเชื่อมั่นโดยวิธีทดสอบซ้ำ ได้ 0.801และ 0.84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ ทดสอบแพร์ทีและสถิติทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า

คะแนนเฉลี่ยด้านความรู้และทัศนคติของบุคลากรสตรีหลังเข้าร่วมโครงการสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ (p < 0.001) ทั้งสองกลุ่ม และคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้และทัศนคติที่เพิ่มขึ้นหลังเข้าร่วมโครงการระหว่างกลุ่มที่ได้รับ ความรู้จากการสอนเป็นกลุ่มและกลุ่มที่ได้รับความรู้จากการฟังเทปไม่ต่างกัน (p > 0.05) จากการสนทนากลุ่มย่อยผู้ เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ การสอนเป็นกลุ่มช่วยให้เข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น ได้แนวคิดและ มุมมองหลากหลาย การฟังเทปสะดวกในการนำไปฟังซ้ำได้เองเมื่อไม่เข้าใจ และได้เสนอให้มีการจัดโครงการอย่างต่อ เนื่องโดยปรับรูปแบบให้มีความหลากหลาย ผู้วิจัยเสนอให้มีการประเมินความคุ้มทุน และผลลัพธ์ในระยะยาว

คำสำคัญ: การประเมินผล การรณรงค์ต่อต้านความรุนแรง ความรู้ ทัศนคติ บุคลากรสตรี

 

Abstract

Violence in the family can induce physical and mental health problems in affected people. These problems have a direct effect on people’s health not only in the short term but also in the long term. The anti-violence campaign project had been launched for female personnel at Faculty of Nursing, Chiang Mai University. This research aimed to explore the outcome of the project toward knowledge and attitude of violence and finding the positive and negative outcomes of the project. Convenience sampling was used to select the samples and simple randomized sampling was applied to assign the samples into two groups, discussion learning group and audiotape listening group, 5-8 people in each group. The discussion learning group received knowledge through small group discussions between the members and the lecturer and received a booklet on completion. The audiotape listening group received knowledge by listening to the audiotape along with reading the booklet, and asked the lecturer to explain the missed concepts on completion. Both groups received knowledge once. This process was conducted until there were 60 samples (30 in each group). The knowledge and attitude about violence questionnaire was used for data collection and was tested for validity by experts. The reliability of instrument was tested by test re-test method and demonstrated at 0.80 and 0.84. Data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, paired samples t-test and independent samples t-test.

The results of study

Show that the knowledge and attitude score of both groups after finishing the project was statistically significantly higher than before joining the project at 0.001. On the other hand, the increasing of knowledge and attitude score after finishing between the discussion learning group and the audiotape listening group was not different. In addition, in the discussion group, most of the samples had a high level of satisfaction toward the method of launching the anti-violence project. moreover, the small group discussion helped them learn the content more easily and they could listen to the audiotape in their free time if they missed the concepts. Additionally, having a variety of patterns to launch the anti-violence project continually was suggested. Long term outcome research and evaluating the cost effectiveness of the project are suggested for future research.

Key words: Evaluation, Anti-violence Campaign, Knowledge, Attitude, Working Women

Downloads

How to Cite

แสงลี ก., ศรีพิชญาการ เ., & ประสิทธิ์วัฒนเสรี ป. (2013). การประเมินผลโครงการรณรงค์ต่อต้านความรุนแรงในบุคลากรสตรี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. Nursing Journal CMU, 38(3), 86–97. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/7488