ผลของการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรม การให้นมมารดาของมารดาคลอดก่อนกำหนด

Authors

  • ฐิติพร แสงพลอย พยาบาลวิชาชีพวิทยาลัยเชียงราย
  • พรรณพิไล ศรีอาภรณ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ปิยะนุช ชูโต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

การสนับสนุนทางสังคม, การเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา, มารดาคลอดก่อนกำหนด

Abstract

     มารดาคลอดก่อนกำหนดมีความเสี่ยงต่อการไม่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา เนื่องจากภาวะสขุภาพของทารกแรกเกดิและการถกูแยกจากกนัทนัทหีลงัคลอด การศกึษาวจิยัแบบกงึ่ทดลอง ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการให้นมมารดาของมารดาคลอดก่อนกำหนดระหว่างกลุ่ม ควบคมุและกลมุ่ทดลอง กลุ่มตัวอย่างมารดาคลอดกอ่นกำหนดจำนวน 44 ราย มีมาคลอดในโรงพยาบาล นครพิงค์และโรงพยาบาลลำพูน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เลือกกลุ่มตัวอย่างตาม คุณสมบัติที่กำหนดโดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 22 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาล ตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับทั้งการพยาบาลตามปกติและแผนการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการ ให้นมมารดา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการให้นมมารดา ของมารดาคลอดกอ่นกำหนด 2) คู่มือการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาในมารดาคลอดกอ่นกำหนด 3) แบบประเมินพฤติกรรมการให้นมมารดาของมารดาคลอดก่อนกำหนด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา การทดสอบ ไคสแควร์ สถิติทดสอบแมนวิทนีย์ยู และสถิติทดสอบวิลคอกซันจับคู่เครื่องหมายตำแหน่ง

     ผลการวิจัย พบว่า มารดาคลอดก่อนกำหนดกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมมีคะแนนพฤติกรรมการ ให้นมมารดาสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001)

     ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นแนวทางสำหรับพยาบาลผดุงครรภ์ ในการสนับสนุนการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา ในมารดาคลอดก่อนกำหนดให้ประสบความสำเร็จต่อไป

Downloads

Published

2016-09-30

How to Cite

แสงพลอย ฐ., ศรีอาภรณ์ พ., & ชูโต ป. (2016). ผลของการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรม การให้นมมารดาของมารดาคลอดก่อนกำหนด. Nursing Journal CMU, 43(3), 13–23. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/75126