การจัดการข้อมูลเพื่อการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ
Keywords:
การจัดการข้อมูล, การรับรองคุณภาพโรงพยาบาล, โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐAbstract
การรับรองกระบวนการคุณภาพโรงพยาบาล โรงพยาบาลต้องมีการจัดการระบบข้อมูลที่ดี ครบถ้วน เพียงพอสำหรับการรับรองกระบวนการคุณภาพได้การศึกษาสภาพข้อมูล, แนวทางการจัดการข้อมูล ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการข้อมูล และโครงสร้างความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการข้อมูลเพื่อการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ศึกษาในกลุ่มโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐในประเทศไทยที่นำมาตรฐานโรงพยาบาลมาใช้ จำนวน 12 แห่ง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญระบบคุณภาพใน โรงพยาบาล จำนวน 24 คน ด้วยเทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) และจากแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับจากบุคลากรในโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพ จำนวน 264 คน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพข้อมูลเพื่อการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ มีสาระที่ต้องให้ความสำคัญ เกี่ยวกับความเข้าใจในข้อมูลของผู้ส่งสาร การทำให้เนื้อหาการสื่อสารมีสาระชัดเจน การระบุประเด็นสำคัญของข้อมูล เนื้อหาการสื่อสารมีความกระชับเข้าใจง่าย การยึดถือความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นหลัก ต้องมีผู้รับผิดชอบกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การต่อยอดการพัฒนาที่ทำให้บุคลากรมีการนำวิธีการปฏิบัติที่ดีมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้รวมถึงการให้รางวัลเป็นการกระตุ้นให้มีการทำงานเป็นทีม การทำให้บุคลากรเห็นประโยชน์ของการประเมินตนเองทำให้มีการประเมินตนเองอยู่เสมอ นอกจากนี้ ผู้บริหารต้องทำให้บุคลากรทุกระดับมีส่วนร่วม มีการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับภาวะที่คุกคามองค์กรจะทำให้บุคลากรมีการปกป้องระวังภัยให้องค์กร รวมถึงการกระตุ้นเตือนของหัวหน้างานทุกระดับเพื่อให้เกิดกา รพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แม้ว่างานจะประสบผลสำเร็จแล้วก็ตาม
2. การจัดการข้อมูลเพื่อการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของประกอบด้วย 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติและการจัดการ
3. วัฒนธรรมองค์กร ความรู้สึกเป็นเจ้าขององค์กร การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์กร และการสื่อสารในองค์กร เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการข้อมูลเพื่อการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล
4. โครงสร้างความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการข้อมูลเพื่อการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ ประกอบไปด้วยปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือ การสื่อสารภายในองค์กร รองลงมา คือ ความรู้สึกเป็นเจ้าขององค์กร การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์กร และวัฒนธรรมองค์กร ตามลำดับ
ข้อสรุป การจัดการข้อมูลเพื่อการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล คือการเรียนรู้ที่จะนำข้อมูลมาใช้เพื่อการพัฒนา ต้องมีการเรียนรู้ข้อมูลอยู่ตลอดเวลา ต้องมีการใช้ฐานข้อมูลเพื่อการจัดการความรู้
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว