การพัฒนาคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลในโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่
Keywords:
การพัฒนาคุณภาพ, การบันทึกทางการพยาบาล, ผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์Abstract
บันทึกทางการพยาบาลเป็นหลักฐานสำคัญในการสะท้อนการพยาบาลที่ผู้ป่วยได้รับ และสามารถใช้ในการสื่อสารระหว่างบุคลากรพยาบาล ดังนั้นการบันทึกทางการพยาบาลที่มีคุณภาพจึงมีความสำคัญต่อการปฏิบัติการพยาบาล การศึกษาเชิงพัฒนานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลในหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ วิธีดำเนินการศึกษาอาศัยกระบวนการปรับปรุงคุณภาพโฟกัสพีดีซีเอ (Deming, 1993 as sited in McLaughlin & Kaluzny, 1999) ซึ่งประกอบด้วย 9 ขั้นตอน ได้แก่ ค้นหากระบวนการในการปรับปรุงคุณภาพ สร้างทีมงานให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการ ทำความเข้าใจกระบวนการที่จะปรับปรุง ทำความเข้าใจถึงสาเหตุของความแปรปรวนของกระบวนการ เลือกวิธีการปรับปรุงกระบวนการ วางแผนในการปรับปรุง นำไปปฏิบัติ ตรวจสอบการปฏิบัติและยืนยันการดำเนินการและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ประชากรในการศึกษาครั้งนี้คือ พยาบาลวิชาชีพจำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการศึกษาได้แก่ แนวคำถามในการประชุมกลุ่ม และแบบประเมินคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลในหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย
ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการโฟกัสพีดีซีเอช่วยในการปรับปรุงการบันทึกทางการพยาบาล ในการศึกษานี้ได้ โดยช่วยให้พยาบาลสามารถระบุสาเหตุของการบันทึกทางการพยาบาลที่ไม่สมบูรณ์ และเลือกแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหา ผู้วิจัยได้มีการพัฒนาแนวทางในการเขียนบันทึกทางการพยาบาลและอบรมให้พยาบาลปฏิบัติตามแนวปฏิบัติหลังจากดำเนินการ 1 เดือน ผู้วิจัยได้ตรวจสอบบันทึกทางการพยาบาล และพบว่าคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 41.64 เป็นร้อยละ 83.70
ผลการศึกษานี้แสดงว่า กระบวนการโฟกัสพีดีซีเอสามารถนำไปใช้ได้จริงในการพัฒนาคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาล ซึ่งผู้บริหารองค์การสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการบริการในหน่วยงานตนเองหรือหน่วยงานอื่น ๆ ในองค์การได
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว