ผลของการให้ข้อมูลโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ต่อความรู้และการปฏิบัติของผู้ป่วย ในการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล

Authors

  • ณัฐนันท์ เกตุภาค พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลลานนา จังหวัดเชียงใหม่
  • วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อารีวรรณ กลั่นกลิ่น รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Abstract

บทคัดย่อ

การติดเชื้อในโรงพยาบาลเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นได้กับผู้ป่วย การดูแลตนเองของผู้ป่วยมีส่วนสำคัญ ในการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล ซึ่งผู้ป่วยจะต้องได้รับข้อมูลจากบุคลากรสุขภาพจึงจะสามารถปฏิบัติการดูแล ตนเองเพื่อป้องกันการติดเชื้อได้อย่างถูกต้อง การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของการให้ข้อมูลโดยใช้ สื่อวีดิทัศน์ต่อความรู้และการปฏิบัติของผู้ป่วยในการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2553 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่มีอายุ 18-60 ปี เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ชุมชนแห่งหนึ่ง จำนวน 50 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 25 ราย โดยจับคู่ในเรื่องอายุ ระดับ การศึกษาและหอผู้ป่วย ซึ่งกลุ่มทดลองได้รับข้อมูลผ่านสื่อวีดิทัศน์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับข้อมูลตามปกติ เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย สื่อวิดิทัศน์เรื่อง การป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลของผู้ป่วย แบบสอบถามข้อมูล ทั่วไป แบบวัดความรู้ แบบบันทึกการสังเกตและแบบสอบถามการปฏิบัติ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาของแบบวัดความรู้ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึก การสังเกต และแบบสอบถามการปฏิบัติเท่ากับ 0.9, 1.0 และ 1.0 ตามลำดับ ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดความรู้ แบบสอบถาม การปฏิบัติและการสังเกตได้เท่ากับ 0.8, 0.7 และ 1 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิง พรรณนา สถิติทดสอบค่าที และสถิติแอนโควา

ผลการวิจัยพบว่า

หลังได้รับข้อมูลผ่านสื่อวีดิทัศน์ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เพิ่มขึ้นจาก 7.40 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานเท่ากับ 2.082) เป็น 15.72 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.621) ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และมากกว่ากลุ่มควบคุมที่มีค่าเฉลี่ย 7.16 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.908) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 หลังได้รับข้อมูลผ่านสื่อวีดิทัศน์ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนน การปฏิบัติเพิ่มขึ้นจาก 18.28 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.851) เป็น 25.32 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานเท่ากับ 3.250) ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และมากกว่ากลุ่มควบคุมที่มีค่าเฉลี่ย 18.80 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.723) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 การวิจัยนี้แสดง ให้เห็นว่า การให้ข้อมูลโดยใช้สื่อวีดิทัศน์มีผลทำให้ผู้ป่วยมีความรู้และปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล ได้ถูกต้องเพิ่มขึ้น ดังนั้นบุคลากรสุขภาพควรนำสื่อวีดิทัศน์นี้ไปใช้ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการ ป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล

 

Abstract

Nosocomial infection is a risk to patients. Patient self care is an important measure for the prevention of nosocomial infections. Patients have to receive information from healthcare workers in order to perform self care correctly to prevent infections. The purpose of this quasiexperimental research was to investigate the effects of information provision using video media on patients’ knowledge and practices in prevention of nosocomial infection during October 2009 to January 2010. The samples were 50 patients aged 18-60 years who were admitted in a community hospital. They were divided into the experimental group and control group with 25 patients in each group. Both groups were matched with age, level of education and patient unit. The experimental group received the information via video media whereas the control group received routine information. Research instruments consisted of the video media on prevention of nosocomial infection for patients, a demographic data questionnaire, a knowledge test, an observational recording form, and a practice questionnaire. These instruments were validated by 5 experts and the content validity index of the knowledge test, the observation recording form and the practice questionnaire were 0.9, 1.0 and 1.0, respectively. The reliability of the knowledge test, the practice questionnaire and the inter-rater observation was 0.8, 0.7 and 1, respectively. Data were analyzed using descriptive statistics, paired t-test, independent t-test and ANCOVA.

The results of study

The study results revealed that after receiving the information via video media, the mean score of knowledge among the experimental group significantly increased from 7.40 (S.D. = 2.082) to 15.72 (S.D. = 1.621) at the level of .001 and was higher significantly than the control group with the mean of 7.16 (S.D. = 1.908) at the level of .001. After receiving the information via video media, the mean score of practices among the experimental group increased significantly from 18.28 (S.D. = 2.851) to 25.32 (S.D. = 3.250) at the level of .001 and was higher significantly than control group with the mean of 18.80 (S.D. = 2.723) at the level of 0.001. These findings indicate that giving information using video media increases knowledge and practices on prevention of nosocomial infection among patients. Healthcare workers should use video media for giving information to patients in order to enhance effectiveness in nosocomial infection prevention.

Downloads

How to Cite

เกตุภาค ณ., พิเชียรเสถียร ว., & กลั่นกลิ่น อ. (2013). ผลของการให้ข้อมูลโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ต่อความรู้และการปฏิบัติของผู้ป่วย ในการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล. Nursing Journal CMU, 38(3), 98–109. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/7530