ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาในการดูแลสุขภาพของผู้ที่เป็นโรคติดสุรา
Keywords:
ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนา, ผู้ที่เป็นโรคติดสุรา, การดูแลสุขภาพ, Lanna Local Wisdom, Persons with Alcohol Dependence, Health CareAbstract
บทคัดย่อ
ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาด้านสุขภาพเป็นความรู้ที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์และสืบทอดภายในชุมชน ล้านนา เน้นสมดุลสุขภาพและสุขภาพแบบองค์รวม การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาในการดูแลสุขภาพของผู้ที่เป็นโรคติดสุรา ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ปราชญ์ชาวบ้าน และ แพทย์พื้นบ้านหรือหมอเมือง จำนวน 10 ราย และผู้ที่เป็นโรคติดสุราจำนวน 5 ราย คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ร่วมกับการบอกต่อแบบลูกโซ่หรือสโนว์บอล รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกร่วมกับการสังเกต ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
ชุมชนล้านนามีการประยุกต์ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาในการดูแลสุขภาพของผู้ที่เป็นโรคติดสุรา โดยมุ่งเน้น ความสมดุลของธาตุ (กาย) และขวัญ (จิตใจ) เพื่อสุขภาวะแบบองค์รวม ตามบริบทสังคมและวัฒนธรรมล้านนา ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาที่นำมาใช้ในการ ดูแลสุขภาพของ ผู้ที่เป็นโรคติดสุรา ประกอบด้วย ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ล้านนาที่ใช้บำบัดรักษาธาตุ ได้แก่ 1) สมุนไพร: ขับพิษสุรา ปรับสมดุลธาตุ ในกรณีนี้มีการเลือกใช้สมุนไพร ที่มีสรรพคุณขับพิษหรือถอนพิษสุรา ร่วมกับสรรพคุณในการปรับสมดุลธาตุและบำรุงร่างกาย 2) อาหาร: บำรุง ร่างกาย ปรับสมดุลธาตุ ภายหลังการใช้สมุนไพรขับพิษสุราผู้บำบัดจะเลือกใช้อาหารที่บำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย รวมทั้งงดอาหารแสลงเพื่อปรับสมดุลธาตุในร่างกาย และป้องกันอาการธาตุกำเริบ ส่วนการใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ล้านนาในการบำบัดรักษาขวัญ ได้แก่ พิธีกรรม: เรียกขวัญผสานหลักพุทธธรรม เป็นการใช้กุศโลบายที่นำหลักพุทธ ศาสนาผนวกกับพิธีกรรมและการตั้งสัจจะสาบาน เพื่อเรียกขวัญก่อให้เกิดกำลังใจในการเลิกดื่มสุรา โดยภูมิปัญญา ดังกล่าวจะใช้ร่วมกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดูแลสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม ทั้งธาตุและขวัญของ ผู้ที่เป็นโรค ติดสุรา
ผลการศึกษาครั้งนี้สะท้อนให้เห็นความสำคัญของการใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาในการดูแลบำบัดรักษา แบบบูรณาการสำหรับผู้ที่เป็นโรคติดสุรา ที่เน้นการปรับสมดุลของธาตุและขวัญ ก่อให้เกิดสุขภาวะองค์รวม เจ้าหน้าที่สุขภาพควรตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว และบูรณาการภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาและภูมิปัญญาสากล ในการดูแลสุขภาพ ก่อให้เกิด “ภูมิปัญญาร่วมสมัย” ในการดูแลผู้ที่เป็นโรคติดสุราที่เหมาะสมกับสังคมในยุคปัจจุบัน
คำสำคัญ: ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนา ผู้ที่เป็นโรคติดสุรา การดูแลสุขภาพ
Abstract
Lanna’s local wisdom regarding health is resulting from accumulated experiences and transferred from generation to generation within Lanna community. Such wisdom place a great concern on health stability and holistic health. This research is thus designed to examine the use of Lanna local wisdom for health care among patients with alcohol dependence. Participants were 10 traditional healers and tradition scholars, and five persons with alcohol dependence chosen through purposive sampling along with snowball sampling. Data collection was carried out during April to November 2009 through in-depth interviews and observation. Data analysis was performed content analysis.
The results of study
Demonstrated that the Lanna community had applied Lanna local wisdom to persons with alcohol dependence focusing on the integrity of “Thad” (physical) and “Kwan” (soul) contributing to holistic well-being congruence with Lanna’s socio-culture. Lanna’s local wisdom for health care among persons with alcohol dependence comprised Lanna local wisdom to heal “Thad” including 1) Herbs: alcohol detoxification, stabilizing body elements, in this case herbs with pharmacological actions for detoxifying alcohol effect along with bodily nurturing and elements stabilization were adopted. 2) Diet: body nurturing and balancing body elements, upon herbal application, healers would adopt food types to nature the body and avoid taboo foods to enhance body equilibrium and prevent abnormality of bodily element. Lanna local wisdom to heal “Kwan” was related to Traditional rituals: regain mentality integrated with Buddhist concepts, this strategy was adopted Buddhist principle in combine with traditional ritual focusing on self commitment for regaining “Kwan” and self confidence for quit drinking. All of these healing practices were integrated to foster efficient care among persons with alcohol dependence in a holistic way.
These results hence reflect the importance of applying Lanna local wisdom in integrated healing for persons with alcohol dependence focusing on stabilization of “Thad” and “Kwan” resulting in “holistic wellness”. Thus, health professionals must realize such significance and should integrate Lanna local wisdom and universal wisdom for health care contributing to “contemporary wisdom” for healing persons with alcohol dependence relevant to social context in the era of the present world.
Key words: Lanna Local Wisdom, Persons with Alcohol Dependence, Health Care
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว