ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสานในการดูแลสุขภาพของผู้ที่เป็นโรคติดสุรา

Authors

  • มะยุรี วงค์กวานกลม พยาบาลวิชาชีพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม จังหวัดนครพนม
  • หรรษา เศรษฐบุปผา อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์ รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสาน, การดูแลสุขภาพ, โรคติดสุรา, Isan local Wisdom, Health Care, Alcohol Dependence

Abstract

บทคัดย่อ

ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสานด้านสุขภาพเป็นความรู้ที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์และถ่ายทอด สืบต่อกัน ในชุมชนอีสาน เน้นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมและสมดุลธาตุในร่างกาย การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสานในการดูแลสุขภาพของผู้ที่เป็นโรคติดสุรา ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยหมอ พื้นบ้านและปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 15 ราย และผู้ที่เป็นโรคติดสุรา จำนวน 10 ราย คัดเลือกแบบเฉพาะ เจาะจงร่วมกับการบอกต่อแบบลูกโซ่หรือสโนว์บอล รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ 2552 ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกต ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

ชุมชนอีสานมีการใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสานในการดูแลสุขภาพของผู้ที่เป็นโรคติดสุรา ทั้งด้านการ ป้องกัน การรักษาเยียวยา และการคืนสู่สุขภาพ ครอบคลุมด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ สอดรับ กับบริบททางสังคมวัฒนธรรม ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสานที่นำมาใช้ในการดูแลสุขภาพของผู้ที่เป็นโรคติดสุรา ได้แก่ 1) สมุนไพร: ถอนพิษสุราสู่ภาวะสมดุลและบำรุงร่างกาย ในกรณีนี้มีการเลือกใช้สมุนไพรที่มีสรรพคุณถอนพิษ ขับพิษสุรา ร่วมกับสรรพคุณในการปรับสมดุลและบำรุงร่างกาย 2) อาหาร: ขับพิษสุรา ปรับสมดุล บำรุงธาตุ ภายหลังจากการใช้สมุนไพรถอนพิษสุรา ผู้บำบัดจะเลือกให้อาหารที่มีสรรพคุณเสริมฤทธิ์สมุนไพรในการขับพิษ หรือถอนพิษสุรา รวมทั้งการงดอาหารแสลง และเสริมอาหารบำรุงตามธาตุเจ้าเรือนเพื่อสร้างดุลยภาพธาตุ ในร่างกายของผู้ที่เป็นโรคติดสุรา 3) การนวดประคบ วิธีนี้ใช้เพื่อบรรเทา เยียวยาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อันเกิดจากการถอนพิษสุรา และ 4) พิธีกรรม: บำบัดรักษาแบบองค์รวม ผสานหลักพุทธธรรม มีการใช้พิธีกรรม ผนวกกับการตั้งสัจจะอธิษฐานและหลักธรรมทางศาสนา เป็นการเรียกขวัญและเสริมสร้างกำลังใจในการบำบัด งดดื่มสุรา การบำบัดเยียวยาดังกล่าวจะใช้ร่วมกันในลักษณะบูรณาการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดูแลสุขภาพ แบบองค์รวมของผู้ที่เป็นโรคติดสุรา

ผลการศึกษาครั้งนี้สะท้อนให้เห็นความสำคัญของการใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสานในการดูแลสุขภาพของผู้ที่ เป็นโรคติดสุราที่เน้นการบำบัดสุขภาพแบบองค์รวม การผสมผสานแนวคิดภูมิปัญญาพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพ กับภูมิปัญญาสากล จะก่อให้เกิด “ภูมิปัญญาร่วมสมัย” ในการบำบัดเยียวยา ผู้ที่เป็นโรคติดสุราที่เหมาะสมกับ บริบทสังคมวัฒนธรรมในยุคโลกาภิวัฒน์

คำสำคัญ: ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสาน การดูแลสุขภาพ โรคติดสุรา

 

Abstract

Isan local wisdom regarding health is knowledge resulting from accumulated experiences and transferred from generation to generation among the Isan community. Such wisdom focuses on holistic health and stabilizing body elements. This qualitative research is thus designed to examine the use of Isan local wisdom for health care among persons with alcohol dependence. Informants included 15 traditional healers and traditional scholars, as well as 10 persons with alcohol dependence chosen by purposive sampling and snowball sampling. Data collection was undertaken during March to October 2009 through in-depth interviews and observation. Data analysis was performed through content analysis.

The results of study

The study results revealed that after receiving the information via video media, the mean score demonstrated that Isan communities commonly applied their local wisdom to persons with alcohol dependence emphasizing health prevention, healing, and recovery covering physical, psychological, social, and spiritual dimensions consistent with that specific to the socio-cultural context. Isan local wisdom for health care among persons with alcohol dependence included; 1) Herbs: alcohol detoxification, stabilizing bodily elements and nurturing, in this case herbs with pharmacological action to detoxify the effects of alcohol along with stabilizing body elements and nurturing were chosen, 2) Diet: alcohol detoxification, balancing and nurturing body elements, upon herbal application, healers adopted food types to enhance herbal action of detoxification. Further, taboo foods were avoided while nutritious foods were chosen according to the dominant body element of each person so as to enhance bodily element stabilization, 3) Traditional massage and herbal compress, this method was applied to relieve muscle pain as a result of alcohol detoxification, and 4) Traditional rituals: holistic management integrated with Buddhist practicing, in this case self commitment and Buddhist concepts were combined for enhancing “Kwan” (soul) and self confidence to cease drinking. All of these healing practices were integrated to foster efficient care among persons with alcohol dependence holistically.

These results thus reflect the significance of the application of Isan local wisdom in caring for persons with alcohol dependence focusing on a holistic approach. Integration of local wisdom and universal wisdom for health care will contribute to “contemporary wisdom” for healing persons with alcohol dependence suitable to the socio-cultural context during the era of globalization.

Key words: Isan local Wisdom, Health Care, Alcohol Dependence

Downloads

How to Cite

วงค์กวานกลม ม., เศรษฐบุปผา ห., & จันทร์ประสิทธิ์ ช. (2013). ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสานในการดูแลสุขภาพของผู้ที่เป็นโรคติดสุรา. Nursing Journal CMU, 38(3), 122–133. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/7678