ยุทธศาสตร์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานด้วยเทคนิค “รัก รับฟัง รับรู้ และเรียนรู้ (LLSL)” คลินิกเบาหวาน เครือข่ายบริการ โรงพยาบาลบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี

Authors

  • นวพรรษ วุฒิธรรม พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี

Keywords:

ผู้ป่วยเบาหวาน, เทคนิครัก, รับฟัง, รับรู้และเรียนรู้, พฤติกรรมสุขภาพ, Diabetes Mellitus Patient, Technique of “Love, Listening, Self-efficacy and Learning, Health Behaviors

Abstract

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้มีแนวโน้มสูงขึ้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพจะนำไปสู่การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มี วัตถุประสงค์เพื่อสร้างและศึกษาผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ ระดับน้ำตาลในเลือดและระดับน้ำตาล สะสมในเลือดภายหลังการใช้ยุทธศาสตร์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานด้วยเทคนิค “รัก รับฟัง รับรู้และเรียนรู้ (LLSL)” คลินิกเบาหวาน เครือข่ายบริการ โรงพยาบาลบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ได้มาด้วยการ สุ่มแบบเจาะจง จำนวน 120 คน แยกเป็นกลุ่มทดลอง 60 คนและกลุ่มควบคุม 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบบันทึกผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดและน้ำตาลสะสม ในเลือด ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามกรอบแนวคิดการดูแลด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ การสื่อสารเพื่อการบำบัด ทฤษฏี พุทธธรรม และแนวคิดการรับรู้ความสามารถตนเอง (Bandura, 1977) ร่วมกับหลักการเรียนรู้ ข้อคำถามผ่าน การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างและเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ คำนวณหาค่าความเชื่อมั่นวิธีสัมประสิทธิ์อัลฟา ของครอนบาชได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 ข้อสอบเลือกตอบมีความยากง่าย (P) อยู่ที่ 0.45 วิเคราะห์ข้อมูล ทางสถิติด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที

ผลการวิจัยพบว่า

ผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในระดับที่สูงขึ้นเรื่องความรู้เรื่องโรคเบาหวาน การรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังในผลของการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง และการปฏิบัติตัวในด้านการควบคุม อาหาร การออกกำลังกาย การผ่อนคลาย การใช้ยา และมีความพึงพอใจด้านการดูแลด้วยความรักและการฟังต่อ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีระดับน้ำตาลในเลือดและระดับน้ำตาลสะสมในเลือดลดลงต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมี นัยสำคัญที่ระดับ 0.05

ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวานด้วยความเข้าใจ เข้าถึงโดยทีมสุขภาพ สร้างบรรยากาศการดูแลด้วยความรักและรับฟังสร้างการรับรู้ความสามารถด้วยการเรียนรู้ร่วมกัน ส่งผลให้ผู้ป่วย เบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ปกติหรือใกล้เคียงปกติ

คำสำคัญ : ผู้ป่วยเบาหวาน เทคนิค รัก รับฟัง รับรู้และเรียนรู้ พฤติกรรมสุขภาพ

 

Abstract

Diabetes Mellitus patient cannot control blood sugar level in the blood has tall tendency goes up changing behavior the health will bring about to blood sugar in the blood are in line for usual. The LLSL was developed with R&D study. The purposes of this doctoral dissertation were to develop and determine the result of using the technique for health behavioral change, compare fasting blood sugars and hemoglobin A1C of diabetes mellitus patients with technique of “Love, Listening, Self-efficacy and Learning (LLSL).” The samples were type-2 purposively selected 120 patients and assigned to both an experiment 60 patients and control group 60 patients. The data were collected by using a structured interview and checking the fasting blood sugars (FBS) and the hemoglobin A1C (HbA1C) level before and after the experiment. The research developed by the researcher consists of the Humanized healthcare, the communication for the cure, Buddhist moral, Self-efficacy and learning (Bandura, 1977). The LLSL Measurement was tested for content validity from the panel of experts. The value of the content validity and the value of Cranach’s alpha coefficient determining the reliability was 0.81, the examination chooses to answer have easy difficulty, (P) 0.45. The data were analyzed with statistics for frequency, percentage, mean, standard deviation, and t-test.

The results of study

The research results revealed that the experimental group gained a statistically higher level of the knowledge, the efficacy expectation, outcome-expectation, and practices concerning food control, exercise, relaxation, medical treatment and satisfactions of LLSL caring, the fasting blood sugar and hemoglobin A1C of the diabetes patients in the experimental groups decreased than before using this strategy and more than those in the control group significantly at 0.05 level.

The results of this study could be used as a guide for caring with the understanding, appreciate by health team builds care with the love and listening to build Self-efficacy and learning, did change the behaviors and control blood sugar of diabetes mellitus patients to an usual or close to usual level as expected to be.

Key words : Diabetes Mellitus Patient, Technique of “Love, Listening, Self-efficacy and Learning, Health Behaviors

Downloads

How to Cite

วุฒิธรรม น. (2013). ยุทธศาสตร์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานด้วยเทคนิค “รัก รับฟัง รับรู้ และเรียนรู้ (LLSL)” คลินิกเบาหวาน เครือข่ายบริการ โรงพยาบาลบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี. Nursing Journal CMU, 38(3), 146–157. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/7680