วัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยและผลลัพธ์ทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเขตภาคเหนือ
Keywords:
ระบบสุขภาพตำบล, ระบบสุขภาพชุมชน, ชุมชนเข้มแข็ง, Sub-district Health System, Community Health, strengthen CommunityAbstract
บทคัดย่อ
การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเป็นสิ่งจำเป็นในสถานบริการทางสุขภาพ เพื่อป้องกัน การเกิดผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจนำมาซึ่งความสูญเสียแก่ผู้ป่วย ญาติ ผู้ให้บริการและภาพลักษณ์ของ โรงพยาบาลได้ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบเปรียบเทียบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพ ผลลัพธ์ทางการพยาบาลที่ไม่พึงประสงค์ ตลอดจนเปรียบเทียบวัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพของโรงพยาบาลแต่ละประเภท ในระดับบริหารและระดับปฏิบัติการของโรงพยาบาล ในเขตภาคเหนือ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ในโรงพยาบาลในเขตภาคเหนือ จำนวน 1182 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามวัฒนธรรมความปลอดภัย และแบบบันทึกอุบัติการณ์ของ เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ที่คณะผู้วิจัยได้ดัดแปลงจากแบบสอบถามวัฒนธรรมความปลอดภัย ตามกรอบแนวคิดของ กินช์เบอร์ท และคณะ (Ginsburg, Tregunno, Fleming, Flemons, Gilin, & Norton, 2007) มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 0.94 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ วิเคราะห์ความแปรปรวน
ผลการวิจัยพบว่า
1. วัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับสูง (X = 157.68 S.D. = 16.51)เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า ด้านการรับรู้สภาวะความปลอดภัยในองค์การและ ด้านวัฒนธรรม การรายงานเหตุการณ์อยู่ในระดับปานกลาง (X = 26.80 S.D.=4.87, x= 16.77 S.D.= 2.67)ส่วนในด้าน อื่นๆ อยู่ในระดับสูง
2. ผลลัพธ์ทางการพยาบาลที่ไม่พิงประสงค์ของอุบัติการณ์ในโรงพยาบาลเขตภาคเหนือ ในปีงบประมาณ 2550 ได้แก่ ความผิดพลาดในการระบุตัวผู้ป่วย การพลัดตกหกล้มของผู้ป่วย ความผิดพลาดในการให้ยา สารนํ้า และเลือด การเกิดแผลกดทับในระดับที่ 2 - ระดับที่ 4 ความผิดพลาด ในการติดต่อสื่อสารตามแผนการรักษาของผู้ป่วย และการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะยังเกินเกณฑ์ ที่ได้กำหนดไว้3. ผลการเปรียบเทียบการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยโดยรวม ตามการรับรู้ของ พยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลศูนย์ในเขตภาคเหนือ มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
4. ผลการเปรียบเทียบการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยระหว่างพยาบาลวิชาชีพระดับ บริหารและระดับปฏิป้ตการพบว่าวัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยโดยรวมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษาครั้งนี้ผู้บริหารการพยาบาลสามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาและเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยในด้านต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อความปลอดภัยผู้ป่วย ทั้งในระดับหน่วยงาน และระดับองค์การได้ และเป็นข้อมูลให้ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติแต่ละโรงพยาบาลใช้ในการเทียบเคียง เพื่อให้การปฏิบัติงานที่ เป็นเลิศของโรงพ ยาบาลต่อไป
คำสำคัญ : ระบบสุขภาพตำบล ระบบสุขภาพชุมชน ชุมชนเข้มแข็ง
Abstract
Creating patients’ safety culture is necessary for healthcare organizations in order to prevent adverse outcomes that may be harmful to patients, family members, and providers, and may also damage hospital image. This descriptive comparative research aimed to study the level of patient safety culture as perceived by professional nurses; trace the incidence of adverse outcomes; compare the perceived patients’ safety culture among professional nurses in different levels of hospitals; and compare the perceived patients’ safety culture between staff nurses and nurse administrators in the hospitals of the northern region. Subjects included 1,182 professional nurses who worked for more than one year in the hospitals of the northern region. The research instruments included: demographic data profile, the incidence of adverse outcomes record form, and the Patients’ Safety Culture Questionnaire modified by the researchers from Ginsburg et al. (2007). The content validity index of this instrument was 0.94 and the reliability was 0.090. Data were analyzed using descriptive statistics; comparing the mean differences of perceived patients’ safety culture by t-test and analyzing the variance using F-test.
The results of study
1. Professional nurses perceived the patients’ safety culture at a high level (66.10%). When analyzing the patients’ safety culture in each dimension, the shame and repercussions of reporting was at a highest level (43.78%). Organizational leadership support for safety, learning culture, unit leadership support for safety, perceived state of safety, reporting culture, and safety learning behaviors were at n high levels (61.19%, 55.22%, 54.73%, 48.51%, 34.33%, and 33.33%, respectively).2. The incident of adverse outcomes in the hospitals of the northern region, in the year 2007 were higher than the expected levels and included mistakes in patients’ identification, patients’ fall, medication error, pressure ulcer grade 2-4, miscommunication in medical treatment, and urinary tract infections.
3. The perception of patients’ safety culture among professional nurses in the community hospitals, general hospitals, and regional hospitals were found to be statistically significantly different at 0.05.
4. The perception of patients’ safety culture between staff nurses and nursing administrators were not different at 0.05.
The nursing administrators can use the results of this study for improving and promoting patient safety culture in every dimension, which would have an effect on patients’ safety at both the unit and organization levels. Moreover, the nursing administrators and nursing staff can use the results of this study for benchmarking the patient safety culture with best practice hospitals.
Key words: Sub-district Health System, Community Health, streng then Community.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว