การพัฒนาแกนนำในการจัดการระบบฐานข้อมูลชุมชน

Authors

  • จุฑามาศ โชติบาง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ประพิมพ์ พุทธิรักษ์กุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • เนตรทอง นามพรม อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พัชรี วรกิจพูนผล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • เดชา ทำดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ธนพรรณ จรรยาสิริ อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

แกนนำ, ระบบฐานข้อมูลชุมชน, key Leader, Community Health Database System

Abstract

บทคัดย่อ

การพัฒนาระบบฐานข้อมูลตำบลเป็นกระบวนการสร้างระบบฐานข้อมูลตำบลภายใต้กระบวนการ มีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งภาคประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำท้องถิ่น และหน่วยงาน ภาครัฐในพื้นที่ ให้เข้ามาร่วมในการเก็บรวบรวมข้อมูล เรียนรู้ข้อมูล ตรวจสอบ ยืนยันและนำใช้ ข้อมูลในพื้นที่ตนเอง โดยการสร้างทีมพัฒนาฐานข้อมูลตำบลในการเก็บรวบรวมข้อมูลและนำใช้ข้อมูล ของชุมชน เพื่อจัดการกับปัญหาที่สอดรับกับความต้องการและวิถีชีวิตของแต่ละชุมชนจนเกิดการ พึ่งตนเองและนำไปสู่การพัฒนาตำบลสู่การเป็นตำบลสุขภาวะที่ยั่งยืนในอนาคต ดังนั้นระบบฐานข้อมูล จึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนสู่การเป็นตำบลสุขภาวะ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง(quasi - experimental research) เปรียบเทียบก่อน-หลัง (pre- and post-test) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการเป็นแกนนำในการจัดการระบบฐานข้อมูล ชุมชนก่อนและหลังได้รับการอบรมการจัดการระบบข้อมูลตำบล กลุ่มตัวอย่างได้แก่แกนนำจากตำบล ที่เข้าร่วมโครงการตำบลสุขภาวะภาคเหนือตอนบน 6 ตำบล จำนวน 30 คน เครื่องมีอที่ใช้ในการดำเนินการ ประกอบด้วย หลักสูตรอบรมแกนนำในการจัดการระบบข้อมูลตำบลและ คู่มือการเป็นแกนนำในการ จัดการระบบข้อมูลตำบล สำหรับเครื่องมีอที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถาม ข้อมูลทั่วไปและแบบประเมินทักษะการเป็นแกนนำผู้วิจัยได้นำเครื่องมือวิจัยให้ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน ท่านตรวจสอบ ได้ค่าความสอดคล้องเท่ากับ 0.8 ทำการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Wilcoxon

ผลการวิจัยพบว่า

คะแนนทักษะการเป็นวิทยากรหลังการได้รับการอบรมมากกว่าก่อนอบรม และมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <0.01) และค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการเป็นวิทยากรภายหลังการได้รับอบรม มากกว่าก่อนการอบรม และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.001) ผลการศึกษาครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาแกนนำในการจัดการระบบฐานข้อมูลชุมชน ต้องพัฒนาทักษะการเป็นวิทยากร และทักษะการจัดการระบบข้อมูลตำบล ทั้งหมด 4 ขั้นตอน คือ 1) การ คันพบข้อเท็จจริง 2) การสะท้อนคิด 3)การเลือกวิธีปฏิบัติอย่างเหมาะสม และ 4) การคงไว้ซึ่ง พฤติกรรมที่พึงประสงค์ โดยใช้หลักสูตร การอบรมที่พัฒนาฃื้น เพื่อให้แกนนำมีความรู้ความสามารถ ในการถ่ายทอดการจัดการระบบข้อมูลตำบล ให้กับนักพัฒนาฐานข้อมูลตำบลอื่นต่อไป และควรนำหลักสูตร อบรมแกนนำในการจัดการระบบข้อมูล ตำบลเผยแพร่เพื่อเป็นแบบอย่างในการพัฒนาศักยภาพแกนนำ ของชุมชนในด้านอื่นต่อไป

คำสำคัญ : แกนนำ ระบบฐานข้อมูลชุมชน

 

Abstract

The development of community health data base system is a process of creating the system under the participatory process of all sectors including local people, local administrative organizations, local leaders, and area-based government agencies. These sectors participate in data collection, learning essential data sets for community health assessment, reviewing, assertion, and use of such data in one’s own area by forming a community health data base development team to collect data and implement community-based data in tackling problems consistent with the needs and lifestyle of each community. This will enable the community to become self-reliant conducive to the development of a well-being Tambon in a sustainable manner in the future. Hence, database system is one of substantial factors driving towards a well-being Tambon.

This pre- post-test quasi-experimental research aimed to develop leadership skill in community health data base system management. Pre- and post-training was conducted in community health data base system management. The sample group comprised 30 key leaders from six Tambons participating in a well-being Tambon in Upper North Project. Research instruments included a training program in community health data base system management for key leaders, and a manual of being a key leader in community health data base system management. Data collection instruments included a questionnaire, and key leadership skills assessment. The questionnaire and research instruments were approved by three experts with overall agreement of 0.85. Data collected were analyzed using a computer software program.

The results of study

The score of lecture skills at the post-training stage was higher than that of the pre-training stage at a statistically significant level (p = 0.010); and the mean score of lecture skills at the post-training stage was higher than that of the pre-training stage at a statistically significant level (p < 0.001). The findings demonstrated that key leaders’ lecture skills and skills in community health data base system management must be enhanced by means of an optimal training program so that the key leaders would be knowledgeable and capable of giving a further training to database developers in other Tambons. เท addition, a training program in community health data base system management for key leaders should be disseminated so as to be further used as a model of building key leaders’ capacity in other aspects.

Key words: key Leader, Community Health Database System

Downloads

How to Cite

โชติบาง จ., พุทธิรักษ์กุล ป., นามพรม เ., วรกิจพูนผล พ., ทำดี เ., & จรรยาสิริ ธ. (2013). การพัฒนาแกนนำในการจัดการระบบฐานข้อมูลชุมชน. Nursing Journal CMU, 38(4), 15–25. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/7690