การใช้ “การสื่อสารเพื่อพัฒนาพฤติกรรมและสังคม” ในการดำเนินงานโครงการในชุมชน เขตภาคเหนือตอนบน
Keywords:
การสื่อสารเพื่อพัฒนาพฤติกรรมและสังคม, เขตภาคเหนือตอนบน, Communication for Development, Thai Northern RegionAbstract
บทคัดย่อ
การสื่อสารเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้คนในชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ผู้ดำเนินโครงการต้องการ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย จึงได้จัดทำคู่มือการสื่อสารเพื่อพัฒนาพฤติกรรมและสังคม และอบรมการใช้คู่มือให้แก่วิทยากรหรือผู้ดำเนินโครงการในชุมชน การศึกษาครั้งนี้เป็นการติดตามและประเมินผล การใช้“การสื่อสารเพื่อพัฒนาพฤติกรรมและสังคม” ในการดำเนินงานโครงการในชุมชน เขตภาคเหนือตอนบน ของหน่วยงาน 2 แห่ง ที่บุคลากรผู้ดำเนินโครงการได้ผ่านการอบรมการสื่อสารเพื่อพัฒนาพฤติกรรมและสังคม โดยมิวัตฤประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาลักษณะโครงการที่นำ “การสื่อสารเพื่อพัฒนาพฤติกรรมและสังคม” ไปใช้ 2) เพื่อศึกษากระบวนการใช้ “การสื่อสารเพื่อพัฒนาพฤติกรรมและสังคม” ในการดำเนินงานโครงการ และ 3) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้การสื่อสาร เพื่อพัฒนาพฤติกรรมและสังคมในการดำเนินโครงการ ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 5 คน และผู้ให้ข้อมูล จากการร่วมโครงการหรือกิจกรรม จำนวน 20 คน เครื่องมิอที่ใช้คือแนวคำถามการใช้การสื่อสาร เพื่อการพัฒนาพฤติกรรมและสังคม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และการสังเกตแบบมิส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
หน่วยงานทั้ง 2 แห่งมีการนำการสื่อสารเพื่อการพัฒนาพฤติกรรมและ สังคมไปใช้ในการดำเนินงาน ในชุมชน ในโครงการสายใยรักครอบครัวและโครงการเสริมสร้าง ความเข้มแข็งของโรงเรียนและชุมชนในการพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยทั้งสองโครงการมีการใช้การสื่อสารเพื่อพัฒนาพฤติกรรมและสังคม ทุกขั้นตอน และเลือกใช้บางกิจกรรมของเครื่องมือการสื่อสารในการทำกิจกรรมในโครงการ โดยพบว่า มีปัญหาอุปสรรค คือ ความไม่คุ้นเคยกับกระบวนการ และผู้ร่วมงานที่ไม่มีความรู้การสื่อสารเพื่อพัฒนา พฤติกรรมและสังคม จึงเกิดความไม่เข้าใจตรงกันได้ การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าควรมีการอบรมให้ความรู้ การสื่อสารเพื่อพัฒนาพฤติกรรมแก่ผู้ดำเนินโครงการให้ทั่วถึงเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันและสามารถ นำไปใชีในการค้นหาปัญหา เสนอแนะแนวทางแก้ไข และดำเนินการแก้ไขปัญหาร่วมกันได้อย่างมี ประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ให้ดีฃื้น
คำสำคัญ: การสื่อสารเพื่อพัฒนาพฤติกรรมและสังคม เขตภาคเหนือตอนบน
Abstract
Communication for deployment (C4D) is an important tool for behaviour changes in appropriate way which required by trainers. Faculty of Nursing, Chiang Mai University and UNICEF produced the C4D manual book and trained the trainers on using the C4D manual book in conducting community projects. This study was the evaluating the use of C4D among 2 organization in northern region which their workers were trained on C4D. The objectives were:
1) to study the characteristics of projects that incorporated C4D, 2) to explain the use of C4D into the projects, and 3) to explore obstacles regarding the use of C4D in the projects. Five trainees as key informants and 10 participants related to conducting community projects were included into the study. Measurement tool was a guideline question on the use of C4D. Interview and participant observation were used to collect data. Content analysis was adopted to be a process of data analysis.
The results of study
Both institutes used C4D in their community projects; the family bond of love project and the school and community strengthen building project. Both used all stages C4D and selected some activities of communication tool for conducting project. The problems of using C4D were that the workers did not familiar with C4D and the untrained C4D co-workers were misunderstood. Therefore, the training on C4D should be set up for all workers who conduct community project to understand the process in correct way. Then, they may be able to explore, suggest and solve problem appropriately to improve people’s lives in community.
Key words: Communication for Development, Thai Northern Region
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว