ผลของการออกกำลังกายแบบโนราห์ประยุกต์ต่อระดับไกลโคไซเลทฮีโมโกลบิน ของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2

Authors

  • กาญจนา บัวเนียม พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลพัทลุง, จังหวัดพัทลุง
  • ศิริรัตน์ ปานอุทัย
  • ทศพร คำผลสิริ อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

การออกกำลังกายในผู้สูงอายุโรคเบาหวาน, ผลของการออกกำลังกายที่มีความหนักปานกลางในผู้สูงอายุโรคเบาหวาน, ผลของการออกกำลังกายต่อระดับไกลโคไซเลทฮีโมโกลบิน, Exercise, in Elderly People with Type 2 Diabetes Mellitus, Effect of Moderate Exercise in Elderly People with Type 2 Diabetes Mellitus, Effect of Exercise

Abstract

บทคัดย่อ

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเรื้อรังที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งอุบัติการณ์และความรุนแรงของ โรคจะเพิ่มฃื้นตามอายุ เนื่องจากร่างกายมีความสามารถในการนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อลดลง และมีภาวะดื้อต่ออินสุลินมากฃื้น ส่งผลให้มีระดับนํ้าตาลในเลือดสูงฃื้น การออกกำลังกายอย่างสมาเสมอ และต่อเนื่อง จะสามารถช่วยควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดได้ การวิจัยเชิงทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายแบบโนราห์ประยุกต์ต่อระดับไกลโคไซเลทฮีโมโกลบินของผู้สูงอายุ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่คลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลพัทลุง ระหว่างเดือนเมษายน ถึง กันยายน พ.ศ. 2553 จำนวน 60 ราย กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ โดยทั้งสองกลุ่ม มีคุณสมบัติที่คล้ายคลึงกันในด้านของกลุ่มยาที่ได้รับ และระดับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร โดยทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองได้รับการออกกำลังกายแบบ โนราห์ประยุกต์ ครั้งละ 45 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ติดต่อกันเป็นเวลานาน 12 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมให้ดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติโดยไม่มีการออกกำลังกาย ก่อนและหลังการทดลอง ตรวจหาระดับไกลโคไซเลทฮีโมโกลบิน และสัมภาษณ์พฤติกรรมการบริโภคอาหาร วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ด้วยสถิติพรรณนา ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติทดสอบค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่มที่อิสระต่อกัน (Mann-Whitney บ test) และสถิติทดสอบค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่มที่สัมพันธ์กัน (Wilcoxon Signed- Ranks test)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ระดับไกลโคไซเลทฮีโมโกลบินในผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ภายหลังจากออกกำลังกาย แบบโนราห์ประยุกต์ ตากว่าก่อนออกกำลังกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001)

2. ระดับไกลโคไซเลทฮีโมโกลบินของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในกลุ่มที่ออกกำลังกาย แบบโนราห์ประยุกต์ ตากว่ากลุ่มที่ไม่ได้ออกกำลังกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05)

ผลของการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การออกกำลังกายแบบโนราห์ประยุกต์สามารถช่วย ลดระดับระดับไกลโคไซเลทฮีโมโกลบินของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ ด้งนั้นการออกกำลังกาย แบบโนราห์ประยุกต์สามารถนำไปใช้เป็นทางเลือกในการส่งเสริมการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ให้มีพฤติกรรมการออกกำลังกายที่ถูกต้อง เหมาะสม และต่อเนื่อง เพื่อ ช่วยให้ผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดได้ดีฃื้น

คำสำคัญ: การออกกำลังกายในผู้สูงอายุโรคเบาหวาน ผลของการออกกำลังกายที่มีความหนักปานกลางในผู้สูงอายุโรคเบาหวาน ผลของการออกกำลังกายต่อระดับไกลโคไซเลทฮีโมโกลบิน

 

Abstract

Type 2 diabetes mellitus is one of the most common chronic diseases among the elderly. The disease incidence and severity progress according to age due to impaired glucose uptake and insulin resistance. Regular and continuous exercise training can control the level of blood sugar. The objective of this experimental research was to examine the effect of Noraprayuk exercise on glycosylated hemoglobin level among the elderly people with type 2 diabetes mellitus. The elderly people in this experimental research attended the diabetes mellitus clinic at Phattalung hospital during April to September 2010. There were 60 persons selected purposively and separated into 2 groups, experimental and control groups. These two groups were similar in terms of diabetic medication and level of food consumption behaviors. The experimental group performed Noraprayuk exercise for 45 minutes, 3 times a week for 12 weeks while the control group did not participate in the exercise. Before and after exercising, glycosylated hemoglobin level and level of food consumption behaviors were measured. Data were analyzed using descriptive statistics and hypotheses were tested by Mann-Whitney U test and Wilcoxon signed-ranks test.

The results of study

1. Glycosylated hemoglobin level of the experimental group after performing Noraprayuk exercise was significantly lower than that of before at the significant level of 0.001;

2. Glycosylated hemoglobin level of the experimental group after performing Noraprayuk exercise was significantly lower than that of the control group at the significant level of 0.05.

The results of this research indicate that Noraprayuk exercise can control glycosylated hemoglobin level among the elderly with type 2 diabetes mellitus. Therefore, Noraprayuk exercise should be encouraged among the elderly with type 2 diabetes mellitus to control the level of blood sugar when they exercise continuously and appropriately.

Key words: Exercise, in Elderly People with Type 2 Diabetes Mellitus, Effect of Moderate Exercise in Elderly People with Type 2 Diabetes Mellitus, Effect of Exercise on Glycosylated Hemoglobin Level

Downloads

How to Cite

บัวเนียม ก., ปานอุทัย ศ., & คำผลสิริ ท. (2013). ผลของการออกกำลังกายแบบโนราห์ประยุกต์ต่อระดับไกลโคไซเลทฮีโมโกลบิน ของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2. Nursing Journal CMU, 38(4), 50–64. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/7694