ผลของการปฏิบ้ติสมาธิเคลื่อนไหวไทยชี่กงต่อระดับฮีโมโกลบินเอวันซีในผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2
Keywords:
ฮีโมโกลบินเอวันซี, ผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2, สมาธิเคลื่อนไหวไทยชี่กง, Hemoglobin A1, Elderly with Type 2 Diabetes Mellitus, Thai Qigong Meditation ExerciseAbstract
บทคัดย่อ
เบาหวานเป็นปัญหาสุขภาพสำคัญที่หากมีการควบคุมโรคไม่ดีจะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ดังนั้นการควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดให้เหมาะสมจึงเป็นเป้าหมายสำคัญของการดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการปฏิบัติสมาธิเคลื่อนไหวไทย ชี่กงต่อระดับฮีโมโกลบินเอวันซีซึ่งเป็นตัวชี้วัดสำคัญของการควบคุมโรคเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่คลินิกเบาหวาน แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาล นครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 60 ราย ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์กำหนด จับคู่เป็นจำนวน 30 คู่ ให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันในเรื่อง เพศ ยาเม็ดลดระดับนํ้าตาลในเลือดที่ใช้ในการรักษา การ รับประทานอาหาร และ การออกกำลังกาย จากนั้นสุ่มอย่างง่ายด้วยการจับฉลากเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่ม ทดลองกลุ่มละ 30 ราย กลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่ปฏิบัติสมาธิเคลื่อนไหวไทยชี่กงเป็นเวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมไม่ได้ปฏิบัติสมาธิโดยวิธีใดๆ เครื่องมีอที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย คือคู่มีอการปฏิบัติสมาธิ เคลื่อนไหวไทยชี่กง ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป และ เครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติโคบาส์ ซี 501 (COBAS C501) วัดระดับฮีโมโกลบิน เอวันซีทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมก่อนและหลังการปฏิบัติสมาธิด้วยเครื่องตรวจวิเคราะห์ อัตโนมัติโคบาส์ ซี 501 ที่ห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลนครพิงค์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนาและสถิติทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า
ฮีโมโกลบินเอวันซีของผ้สงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มที่ปฏิบัติสมาธิเคลื่อนไหวไทยชี่กง ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ปฏิบัติสมาธิเคลื่อนไหวไทยชี่กง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) และระดับฮีโมโกลบินเอวันซีของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ภายหลังปฏิบัติสมาธิ เคลื่อนไหวไทยชี่กง มีค่าตากว่าก่อนการปฏิบัติสมาธิเคลื่อนไหวไทยชี่กงอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05)
ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า พยาบาลที่ดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถนำ วิธีการปฏิบัติสมาธิเคลื่อนไหวไทยชี่กง ไปใช้เป็นวิธีการร่วมในการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มนี้ให้สามารถ ควบคุมโรคได้ต่อไป
คำสำคัญ : ฮีโมโกลบินเอวันซี ผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สมาธิเคลื่อนไหวไทยชี่กง
Abstract
Diabetes mellitus is a major health problem which leads to a number of serious complications if lacking suitable control. Proper control of blood sugar, therefore, is the major goal in care of the elderly with type 2 diabetes mellitus. This two group pretest- posttest experimental research aimed to examine the effect of Thai Qigong meditation exercise on hemoglobin A that is the vital indicator for diabetic control. The sample comprised sixty elderly with type 2 diabetes mellitus attending the diabetes mellitus clinic, outpatient department, Nakornping hospital, Chiang Mai province. The subjects were randomly assigned into the control group and the experimental group. The experimental group performed Thai Qigong meditation exercise for eight weeks, while the control group did not engage in any meditation program. The levels of hemoglobin A were measured before and after conducting Thai Qigong meditation exercise. Data were analyzed using descriptive statistics and t-test statistics.
The results of study
Level of hemoglobin A of the experimental group was significantly lower than that of the control group (p < 0.05) and after conducting Thai Qigong meditation exercise, the levels of hemoglobin A had significantly decreased (p < 0.05).
The results of this study indicate that nurses who care for the elderly with type 2 diabetes mellitus can use Thai Qigong meditation exercise complementarily with other medical care approaches to help type 2 diabetic elderly effectively control their blood sugar.
Key words: Hemoglobin A1 , Elderly with Type 2 Diabetes Mellitus, Thai Qigong Meditation Exercise
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว