ผลของการเตรียมสตรีครรภ์แรกต่อความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดา

Authors

  • พรพรรณ พุ่มประยูร พยาบาลวิชาชีพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสระบุรี
  • กรรณิการ์ กันธะรักษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • บังอร ศุภวิทิตพัฒนา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

สตรีครรภ์แรก, ความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดา

Abstract

     การดำรงบทบาทมารดาเป็นกระบวนการที่มารดาเรียนรู้พฤติกรรมการเป็นมารดา และมีความรู้สึกพึงพอใจในเอกลักษณ์ของการเป็นมารดา มารดาครรภ์แรกส่วนมากมีความรู้สึกยากลำบาก และคิดว่าไม่มีความสามารถที่จะประสบความสำเร็จของบทบาทมารดาในทุกด้าน การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเตรียมสตรีครรภ์แรกต่อความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดา กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีครรภ์แรกจำนวน 44 ราย ที่มารับบริการฝากครรภ์ คลอด นอนพักรักษาตัวภายหลังคลอด และเข้ารับการตรวจภายหลังคลอด ที่โรงพยาบาลสระบุรี ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ถึง เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 เลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนดโดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 22 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับทั้งการพยาบาลตามปกติและได้รับการเตรียมเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการให้ข้อมูลเพื่อส่งเสริมความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดา และ 2) แบบวัดความสำเร็จในการดำรงบทบาทการเป็นมารดา ที่พัฒนาโดย
ศรีสมร ภูมนสกุล อรพรรณ สมบูรณ์ทรัพย์ และอุษา ศิริวัฒนโชค (2547) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิง
พรรณนา การทดสอบไคสแควร์ และสถิติทดสอบแมนวิทนีย์ยู
     ผลการวิจัย พบว่า สตรีกลุ่มที่ได้รับการเตรียมมีคะแนนความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p < .05)

Downloads

How to Cite

พุ่มประยูร พ., กันธะรักษา ก., & ศุภวิทิตพัฒนา บ. (2017). ผลของการเตรียมสตรีครรภ์แรกต่อความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดา. Nursing Journal CMU, 43(4), 33–43. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/77518