อัตราการปนเปื้อนเชื้อจุลชีพในเลือดส่งตรวจเพาะเชื้อ ที่เก็บโดยใช้ถุงมือปราศจากเชื้อกับถุงมือสะอาด
Keywords:
การปนเปื้อนเชื้อจุลชีพ, เลือดส่งตรวจเพาะเชื้อ, ถุงมือปราศจากเชื้อ, ถุงมือสะอาดAbstract
การปนเปื้อนเชื้อจุลชีพในตัวอย่างเลือดที่ส่งตรวจเพาะเชื้ออาจส่งผลให้การวินิจฉัยการติดเชื้อในกระแสโลหิตผิดพลาดได้การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอัตราการปนเปื้อนเชื้อจุลชีพในตัวอย่างเลือดที่ส่งตรวจเพาะเชื้อที่เก็บโดยใช้ถุงมือปราศจากเชื้อและถุงมือสะอาด โดยศึกษาในโรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ.2555 ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2556 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นตัวอย่างเลือดส่งตรวจเพาะเชื้อที่เก็บโดยพยาบาลวิชาชีพจำนวน 20 คนซึ่งปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยและผ่านการอบรมการเจาะเลือดส่งตรวจเพาะเชื้อโดยผู้วิจัยโดยมีการปกปิดชนิดของถุงมือที่ใช้เก็บตัวอย่างเลือด ตัวอย่างเลือดแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เก็บโดยใช้ถุงมือปราศจากเชื้อและกลุ่มที่เก็บโดยใช้ถุงมือสะอาด จำนวนกลุ่มละ 421 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ถุงมือปราศจากเชื้อ และถุงมือสะอาด และแบบบันทึกผลการตรวจเพาะเชื้อจากเลือด ซึ่งผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ5 ท่าน ตรวจสอบความเชื่อมั่นของการวินิจฉัยการปนเปื้อนเชื้อจุลชีพโดยผู้วิจัยและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมโรคติดเชื้อได้ 1.0 วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาอัตราการปนเปื้อนค่าความเสี่ยง ความแตกต่างของความเสี่ยง และสถิติไคสแควร์
ผลการวิจัยพบว่าตัวอย่างเลือดที่ส่งตรวจเพาะเชื้อที่เก็บโดยใช้ถุงมือปราศจากเชื้อ และถุงมือสะอาดมีอัตราการปนเปื้อนเชื้อจุลชีพในตัวอย่างเลือดร้อยละ 1.9 และ 1.7 ตามลำดับ คิดเป็นความแตกต่างของความเสี่ยง 0.0024 (95% CI -0.0155-0.0202; p = .795) ซึ่งแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติเชื้อจุลชีพที่ปนเปื้อนในตัวอย่างเลือดที่เก็บโดยใช้ถุงมือปราศจากเชื้อได้แก่ เชื้อ Bacillus spp., Staphylococcus epidermidis และ Micrococcus spp. เชื้อที่ปนเปื้อนในตัวอย่างเลือดที่เก็บโดยใช้ถุงมือสะอาด ได้แก่ Bacillus spp., Corynebacterium spp. และ Staphylococcus epidermidis.
ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการเจาะเลือดส่งตรวจเพาะเชื้อสามารถใช้ถุงมือสะอาดหรือถุงมือปราศจากเชื้อได้เนื่องจากอัตราการปนเปื้อนเชื้อไม่แตกต่างกัน
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว