ผลของการปฏิบัติสมาธิเคลื่อนไหวไทยชี่กงต่อความดันโลหิตในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง
Keywords:
การปฏิบัติสมาธิเคลื่อนไหวไทยชี่กง, ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง, Elderly, Hypertension, Blood Pressure, Thai QigongAbstract
บทคัดย่อ
โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่พบมากในผู้สูงอายุ การควบคุมความดันโลหิตให้เหมาะสม เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบการวิจัยเชิงทดลองสองกลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการปฏิบัติสมาธิเคลื่อนไหวไทยชี่กง ต่อความดันโลหิตในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคความดัน โลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุจำนวน 68 รายที่มารับบริการที่คลินิกโรคความดันโลหิตสูง แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเวียงป่าเป้า อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ระหว่างเดือน มิถุนายนถึงสิงหาคม พ.ศ.2553 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ตามคุณสมบัติที่กำหนดและจับคู่ให้มืความค๓ยคลึงกันในด้าน เพศ อายุ การศึกษา ระดับความดันโลหิตและกลุ่มยาควบคมความดันโลหิต สุ่มกลุ่มตัวอย่างในแต่ละคู่เข้ากลุ่ม ทดลองและกลุ่มควบคม กลุ่มทดลองปฏิบัติสมาธิเคลื่อนไหวไทยชี่กง เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคมไม่ได้ปฏิบัติสมาธิโดยวิธีใดๆ เครื่องมือที่ใช้ในการวัดความดันโลหิตก่อนและหลังการทดลองเป็น เครื่องวัดความดันโลหิตชนิดปรอท วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติอ้างอิงนอนพาราเมตริก
ผลการวิจัยพบว่า
หลังการปฏิบัติสมาธิเคลื่อนไหวไทยชี่กงผู้สูงอายุโรคความด้นโลหิตสูงมืความด้นโลหิตซิสโตลิคและ ความด้นโลหิตไดแอสโตลิคตากว่าก่อนการปฏิบัติสมาธิเคลื่อนไหวไทยชี่กงอย่างมืนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001) ความด้นโลหิตซิสโตลิคและความด้นโลหิตไดแอสโตลิคฃองผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มที่ปฏิบัติ สมาธิเคลื่อนไหวไทยชี่กงต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ปฏิบัติสมาธิเคลื่อนไหวไทยชี่กงอย่างมืนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001)
ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าพยาบาลสามารถใช้การปฏิบัติสมาธิเคลื่อนไหวไทย ชี่กงเป็น วิธีการเสริมในการควบคุมความดันโลหิตในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงได้
คำสำคัญ: การปฏิบัติสมาธิเคลื่อนไหวไทยชี่กง ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง
Abstract
Hypertension is a chronic disease commonly found among the elderly. Adequate control of blood pressure is essential for preventing complications. This study used two group pre-test and post-test design to examine the effect of Thai Qigong meditation exercise on blood pressure of the elderly with hypertension. Subjects were 68 older people with essential hypertension attending the outpatient hypertension clinic at Wiangpapao hospital, Chiang Rai province during June to August 2010. Subjects were purposively selected based on the inclusion criteria and were paired in terms of sex, age, education, blood pressure level and medication used. Subjects in each pair were randomly assigned into experimental and control groups. The experimental group participated in 8 weeks long Thai Qigong meditation exercise, while the control group did not engage in any meditation program. Blood pressure before and after the treatment was measured using mercury sphygmomanometer. Data were analyzed using descriptive statistics and nonparametric inferential statistics.
The results of study
Systolic and diastolic blood pressures of the elderly in the experimental group significantly decreased after performing Thai Qigong meditation exercise (p < 0.001). Systolic and diastolic blood pressures of the elderly in the experimental group were significantly lower than those of the control group (p < 0.001).
The results of this study indicate that nurses can use the Thai Qigong meditation exercise as a valuable complementary approach for controlling blood pressure of the elderly with hypertension.
Key words: Elderly, Hypertension, Blood Pressure, Thai Qigong
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว