ผลของการออกกำลังกายโดยการยืดกล้ามเนื้อต่ออาการปวดหลังส่วนล่าง และความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมในผู้รับงานเย็บเสื้อผ้าไปทำที่บ้าน
Keywords:
อาการปวดหลังส่วนล่าง, ความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรม, การออกกำลังกายโดยการยืดกล้ามเนื้อ, ผู้รับงานเย็บเสื้อผ้าไปท่าที่บ้าน, Low Back Pain, Functional Ability, stretching Exercise, Home-based Garment WorkersAbstract
บทคัดย่อ
อาการปวดหลังส่วนล่างเป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการทำงานที่พบมากที่สุด ส่งผลกระทบต่อ การทำงานและการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันของคนทำงาน การออกกำลังกายโดยการ ยืดกล้ามเนื้อทำให้ลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้ออาจช่วยลดอาการปวดและเพิ่มความสามารถ ในการปฏิบัติกิจกรรมได้ การวิจัยกึ่งทดลองนื้มีวัตถุประสงค์เพิ่อศึกษาผลของการออกกำลังกาย โดยการยืดกล้ามเนื้อต่ออาการปวดหลังส่วนล่างและความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมของผู้รับงาน เย็บเสื้อผ้าไปทำที่บ้าน ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้รับงานเย็บเสื้อผ้าไปทำที่บ้าน ในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ตามคุณสมป้ติที่กำหนด โดยการสุ่มเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 37 ราย มีความคล้ายคลึงกัน ตามลักษณะที่กำหนด คือ เพศ อายุ ดัชนีมวลกาย พฤติกรรมการออกกำลังกาย ลักษณะและสภาพการทำงาน และคะแนนอาการปวดหลังส่วนล่างและความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมก่อนการทดลอง กลุ่มทดลอง ได้รับความรู้เกี่ยวกับอาการปวดหลังส่วนล่างและร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายโดยการยืดกล้ามเนื้อ 12 ล้ปดาห์ ขณะที่กลุ่มควบคุมได้รับความรู้เกี่ยวกับอาการปวดหลังส่วนล่างและคำแนะนำการออกกำลังกาย เครื่องมีอที่ใช้ดำเนินการวิจัย ได้แก่ คู่มือความรู้เกี่ยวกับอาการปวดหลังส่วนล่าง คู่มือการออกกำลังกาย เครื่องมือที่ใชิในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล ลักษณะและสภาพการทำงาน แบบประเมินอาการปวดหลังส่วนล่าง และแบบสอบถามความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรม สร้างขึ้น จากการทบทวนวรรณกรรมนำไปตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและภาษาที่ใช่โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน คำนวณหาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้สูตร สัมประสิทธึ้แอลฟาครอนบาคเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล ลักษณะและสภาพการท่างาน ใช้สถิติเชิงพรรณนา คะแนนอาการปวดหลังส่วนล่างใช้สถิติทดสอบแมนวิทนีย์ยู และสถิติทดสอบฟรีดแมน ส่วนคะแนนความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมใช้สถิติทดสอบค่าทีชนิด 2 กลุ่มเป็นอิสระต่อกัน และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนเมื่อมีการวัดซํ้า
ผลการวิจัยพบว่า
1. กลุ่มทดลองหลังได้รับการออกกำลังกายโดยการยืดกล้ามเนื้อ มีคะแนนเฉลี่ยอาการปวดหลัง ส่วนล่างน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.01)
2. กลุ่มทดลองหลังได้รับการออกกำลังกายโดยการยืดกล้ามเนื้อ มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถ ในการปฏิบัติกิจกรรมดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.01)
3. ภายหลังได้รับการออกกำลังกายโดยการยืดกล้ามเนื้อ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยอาการ ปวดหลังส่วนล่างน้อยกว่า ก่อนออกกำลังกายโดยการยืดกล้ามเนื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05)
4. ภายหลังได้รับการออกกำลังกายโดยการยืดกล้ามเนื้อ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถ ในการปฏิบัติกิจกรรมดีกว่าก่อนออกกำลังกายโดยการยืดกล้ามเนื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.01)
ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการออกกำลังกายโดยการยืดกล้ามเนื้อ สามารถลดอาการปวดหลัง ส่วนล่าง และเพิ่มความสามารถในการปฏิป้ติกิจกรรมในผู้รับงานเย็บเสื้อผ้าไปท่าที่บ้าน ดังนั้นควรส่งเสริม ให้มีการจัดกิจกรรมการออกกำลังกายโดยการยืดกล้ามเนื้ออย่างสมั่าเสมอในคนท่างาน เพื่อ'ช่วย'1ห้สามารถ ท่างานได้ดีฃี้น
คำสำคัญ: อาการปวดหลังส่วนล่าง ความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรม การออกกำลังกายโดยการยืดกล้ามเนื้อ ผู้รับงานเย็บเสื้อผ้าไปท่าที่บ้าน
Abstract
Low back pain is the most common occupational health problem affecting work and daily functioning of workers, stretching exercises may reduce low back pain and improve functional ability. This quasi-experimental study was designed to examine the effect of stretching exercise on low back pain and functional ability in home-based garment workers. The study was under taken during February to April 2009. The subjects were home-based garment workers living in Sankampaeng district, Chiang Mai province, selected by purposive sampling based on criteria. The subjects were randomly assigned to either an experimental or control group with thirty- seven in each group. Both groups were similar in terms of gender, age, body mass index, exercise behavior, working condition and pre-test scores of low back pain and functional ability. The experimental group was given an educational lesson on low back pain and performed stretching exercise for twelve weeks whereas the control group was given an educational session about low back pain exercise was suggested.
The research instruments used included, an interview form relating to data on personal characteristics and working conditions, an information handbook about low back pain, a handbook of stretching exercises to practice, a low back pain questionnaire, and a functional ability questionnaire. The instruments were content and language validated by five experts. The reliability of the functional ability questionnaire was tested with Cronbach’s alpha coefficient and was 0.89. Data regarding personal characteristics and working condition were analyzed using descriptive statistics. Mean scores of low back pain were analyzed with Mann-Whitney บ test and Friedman test, mean scores of functional ability were analyzed by independent t-test and one-way repeated ANOVA.
The results of study
1. The experimental group, after receiving the stretching exercise program, had significantly lower mean scores of low back pain than the control group (p < 0.01);
2. The experimental group after, receiving the stretching exercise program, had significantly higher mean scores of functional ability than the control group (p < 0.01);
3. After receiving the stretching exercise program the experimental group had significantly lower mean scores of low back pain than before receiving the program (p <0.05);
4. After receiving the stretching exercise program the experimental group had significantly higher mean scores of functional ability than before receiving the program (p < 0.01).
The findings indicate that the twelve weeks stretching exercise could reduce low back pain and improve functional ability in home-based garment workers. A stretching exercise should be promoted regularly among workers in order to enhance their working ability.
Keywords: Low Back Pain, Functional Ability, stretching Exercise, Home-based Garment Workers
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว