ผลของการออกกำลังกายแบบแอโรบิคกับเก้าอี้ต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายในผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว

Authors

  • วิชานีย์ ใจมาลัย อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ทวีลักษณ์ วรรณฤทธิ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • นิตยา ภิญโญคำ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

การออกกำลังกายแบบแอโรมิคกับเก้าอี้, ความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกาย, ผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว, การออกกำลังกายตามปกติ, Chair Aerobic Exercise, Functional Capacity, Persons with Heart Failure, Normal Exercise

Abstract

บทคัดย่อ

ภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญทั่วโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว ทั่งทางด้านร่างกาย จิตใจ และเศรษฐกิจสังคม ผลกระทบที่สำคัญที่สุดคือผลกระทบทางด้านร่างกาย โดยผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวจะมีความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายลดลง การออกกำลังกาย แบบแอโรบิคกับเก้าอี้เป็นวิธีการหนึ่งที่จะสามารถเพิ่มความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายในกลุ่ม ประชากรดังกล่าว การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์เพิ่อศึกษาผลของการออกกำลังกาย แบบแอโรบิคกับเก้าอี้ต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายในผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกโรคหัวใจ และหลอดเลือด แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสัแป่าตอง และโรงพยาบาลแม่วาง เป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมตามลำดับ กลุ่มละ 14 คน กลุ่มทดลองออกกำลังกายแบบแอโรบิคกับเก้าอี้ในขณะที่กลุ่มควบคุมออกกำลังกายตามปกติ เครื่องมือ ที่ใชิในการวิจัยประกอบด้วย 1) วิดิทัศน์การออกกำลังกายแบบแอโรบิคกับเก้าอี้ 2) แบบประเมิน ความรับร้อาการเหนื่อยของบอร์ก 3) แบบบันทึกการออกกำลังกาย 4) แบบสอบถามข้อมลทั่วไป 5) แบบบันทึกความสามารถในการเดินบนพื้นราบในเวลา 6 นาที วิเคราะห์ข้อมลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า

1. ความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายของผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวหลังการ ออกกำลังกายแบบแอโรมิคกับเก้าอี้ดีกว่าผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่ออกกำลังกายตามปกติอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001

2. ความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายของผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวหลังการ ออกกำลังกายแบบแอโรมิคกับเก้าอี้ดีกว่าก่อนออกกำลังกายแบบแอโรมิคกับเก้าอี้ อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.001

ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การออกกำลังกายแบบแอโรมิคกับเก้าอี้สามารถเพิ่มความสามารถ ในการทำหน้าที่ของร่างกายในผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวได้ดังนั้นจึงสามารถใช้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการ แนะนำให้ผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวในการออกกำลังกายเพิ่อเพิ่มความสามารถในการทำหน้าที่ของ ร่างกายได้

คำสำคัญ: การออกกำลังกายแบบแอโรมิคกับเก้าอี้ ความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกาย, ผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว การออกกำลังกายตามปกติ

 

Abstract

Heart failure is a significant health problem worldwide, which has an impact on persons with heart failure physically, mentally, and socioeconomically. The most significant impact is the physical impact as the functional capacity of persons with heart failure will decrease. Chair aerobic exercise is one means to increase functional capacity among this particular population. This experimental study aimed to examine the effect of chair aerobic exercise on functional capacity among persons with heart failure. Subjects were persons with heart failure attending Cardiovascular Clinic, Out-Patient Department, Sanpatong and Maewang hospitals, experimental and control groups, respectively, with 14 persons in each group. Subjects in the experimental group performed chair aerobic exercise, whereas those in the control group performed normal exercise. Research instruments consisted of 1) video of chair aerobic exercise, 2) Borg’s scale assessment form, 3) exercise recording form, 4) demographic data recording form, and 5) 6-minute walk distance recording form. Data were analyzed using descriptive statistics and t-test.

The results of study

1. The functional capacity among persons with heart failure after performing chair aerobic exercise was statistically significantly better than those who exercised normally (p < 0.001).

2. The functional capacity among persons with heart failure after performing chair aerobic exercise was statistically significantly better than those of before (p < 0.001).

Results of this study demonstrate that chair aerobic exercise can increase functional capacities among persons with heart failure, therefore it is suggested as another option to be advised to persons with heart failure in order to increase their functional capacities.

Key words: Chair Aerobic Exercise, Functional Capacity, Persons with Heart Failure, Normal Exercise

Downloads

How to Cite

ใจมาลัย ว., วรรณฤทธิ์ ท., & ภิญโญคำ น. (2013). ผลของการออกกำลังกายแบบแอโรบิคกับเก้าอี้ต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายในผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว. Nursing Journal CMU, 38(4), 106–122. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/7790