ประสิทธิผลของวิธีการป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างเฉียบพลัน ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี : การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

Authors

  • ชนัดดา สระโสม พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลกันทรลักษ์, จังหวัดศรีสะเกษ
  • พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • นิตยา ไทยาภิรมย์ รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

การทบทวนวรรณกรรม, การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างเฉียบพลัน, วิธีการป้องกันการติดเชื้อทารก, เด็ก, Systematic Review, Acute Lower Respiratory Tract Infection, Preventive Infection Intervention Infant, Children

Abstract

บทคัดย่อ

การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างเฉียบพลันในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เป็นปัญหาสาธารณสุข ที่สำคัญ ระดับโลก เป็นโรคที่ทำให้เด็กป่วย และเสียชีวิตจำนวนมาก การป้องกันการติดเชื้อเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดอัตราการป่วย ความรุนแรง และภาวะแทรกซ้อน การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบมีวัตถุประสงค์ เพื่อสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างเฉียบพลันในเด็กอายุตากว่า 5 ปี คำถามการทบทวน คือ ประสิทธิผลของวิธีการป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างเฉียบพลัน ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี แต่ละวิธีเป็นอย่างไร การสืบค้นงานวิจัยครอบคลุมงานวิจัยภาษาไทยทั้งที่มีการติพิมพ์ และไม่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ และภาษาอังกฤษเฉพาะที่มีการติพิมพ์เผยแพร่ โดยการสืบค้นด้วยมือ และสื่ออิเลคโทรนิคส์จากห้องสมุด และฐานข้อมูลต่าง ๆ มีรายงานตั้งแต่ปีพ.ศ. 2544 ถึง พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2001-2010) เครื่องมือที่ใช้ในการทบทวนประกอบด้วย แบบประเมิน และแบบสกัดข้อมูลงานวิจัย มีการตรวจสอบความถูกต้องของการคัดเลือก การประเมินคุณค่า และการสกัดข้อมูลโดยผู้ทบทวนและผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Review Manager Version 4.2 ที่เสนอโดย Cochrane Collaboration และการสรุปเชิงเนื้อหาเพื่อจำแนกวิธีการและประสิทธิผลของวิธีการป้องกันการ ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างเฉียบพลันในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี

ผลการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบครั้งนี้

มีงานวิจัยเข้าสู่การทบทวนจำนวน 17 เรื่อง เป็นการศึกษาเชิงทดลอง 9 เรื่อง และกึ่งทดลอง 8 เรื่อง มิวิธีการป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจ ส่วนล่างเฉียบพลันในเด็ก ดังนี้ 1) การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดิน หายใจส่วนล่างเฉียบพลันในเด็ก ได้แก่ การส่งเสริมการปฏิบัติการป้องกันการ ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างเฉียบพลันของมารดา หรือ ผู้ดูแล และการสนับสนุนอุปกรณ์ โดยการส่งเสริมการปฏิบัตินั้นใช้วิธีการให้ข้อมูล การส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการสนับสนุนทางสังคม การใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และการให้คำปรึกษา ส่วนการสนับสนุนอุปกรณ์วิธีใช้วิธีให้การสนับสนุนผลิตภัณฑ์ 2) การเพิ่มความต้านทานโรคให้แก่ร่างกายเด็กได้แก่ การจัดโปรแกรมการให้สารอาหารกับเด็กแก่มารดา หรือผู้ดูแลและการจัดโปรแกรมให้สารอาหารและวิตามินแก่เด็ก มีการวัดผลลัพธ์ของ วิธีการป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างเฉียบพลันในเด็ก จากอัตราการติดเชื้อทางเดินหายใจ ส่วนล่างเฉียบพลันในเด็ก และการปฏิบัติของมารดา หรือผู้ดูแลเด็ก ผลการทบทวนพบว่า วิธีการป้องกัน การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างเฉียบพลันของเด็ก อายุตากว่า 5 ปี ที่สามารถลดอัตราการติดเชื้อในเด็กได้ คือ การจัดโปรแกรมการให้สารอาหารกับเด็ก แก่มารดาหรือผู้ดูแล และการให้ข้อมูลเพิ่อส่งเสริมการ ปฏิบัติของมารดา หรือผู้ดูแล ส่วนวิธีที่มีผลเปลี่ยนแปลง การปฏิบัติของมารดา หรือผู้ดูแล คือ การให้ข้อมูล การส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการสนับสนุนทางสังคม การใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และการให้คำปรึกษา

การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบครั้งนี้ ผู้ทบทวนมีข้อเสนอแนะว่า บุคลากรทางสุขภาพ ควรให้ข้อมูลส่งเลริมสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการสนับสนุนทางสังคม ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และให้คำปรึกษา ในการส่งเสริมการปฏิบัติของมารดาหรือผู้ดูแล เพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างเฉียบพลัน ส่วนการสร้างภูมิต้านทานโรคแก่ร่างกายเด็ก ควรใช้การจัดโปรแกรมการให้สารอาหารแก่มารดา หรือผู้ดูแล อย่างไรก็ตามข้อสรุปที่ได้เป็นข้อสรุปจากงานวิจัย เพียงเรื่องเดียว ดังนั้นควรมีการทดลองซํ้าในกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ โดยมีการออกแบบวิจัยที่มีคุณภาพยิ่งขึ้น

คำสำคัญ : การทบทวนวรรณกรรม การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างเฉียบพลัน วิธีการป้องกันการติดเชื้อทารก เด็ก

 

Abstract

Acute lower respiratory tract infection is a significant health problem in the world. This acute illness has an important impact on child morbidity and mortality. Preventive intervention is considered an essential way in reducing the morbidity rate and severity of the disease and its complications. This systematic review aimed to summarize the best available evidence related to preventive interventions for acute lower respiratory tract infection among children under the age of five. A review question included: What is the effectiveness of preventive interventions for acute lower respiratory tract infection among children under the age of five? The search strategy aimed to find both published and unpublished primary research studies located in Thailand and published studies in English. Electronic and manual searches from libraries and available databases were conducted and limited to 2001 through 2010. Instruments used in this review included the Critical Appraisal Form and Data Extraction Form, study selection, critical appraisal, and data extraction were developed and cross-checked by the reviewer and researcher. Data were statistically analyzed using the Review Manager Version 4.2 program proposed by the Cochrane Collaboration, and narrative summary was used to identify effectiveness of the preventive interventions for acute lower respiratory tract infection among children under the age of five.

The results of this sytenatic review was showed that

Seventeen research studies were included into the systematic review with nine randomized controlled trials and eight quasi-experimental studies. The preventive intervention for acute lower respiratory tract infection were; 1) Avoiding risk factors that cause acute lower respiratory tract infection in children including the promoting of mother’s or caregiver’s practices related to prevention of acute lower respiratory tract infection in children and equipment support. The strategies used for promoting mother’s or caregiver’s practices were information providing, self-efficacy promoting with social support, use of participatory learning process, and counseling. The equipment support was providing products to the caregivers. 2) Increasing the child’s immune system including providing the nutrition programs to mothers or caregivers and giving nutrients and vitamins to the children. The outcomes of the strategies were measured by acute lower respiratory tract infection rate and practices of mothers or caregivers. The preventive interventions for acute lower respiratory tract infection among children under the age of five that could reduce infection rate in children include providing the nutrition program and information for mothers or caregivers. The interventions that could change the practices of mothers or caregivers were information providing and self-efficacy promoting with social supporting, as well as use of participatory learning process and counseling.

This systematic review suggests that health care personnel should provide the information, promote self-efficacy with social support, use participatory learning process and give counseling to promote the practices of mothers or caregivers in order to avoid the risk factors of acute lower respiratory tract infection. Child immunization should be promoted by providing mother and caregiver the nutrition program. However, this result was from only one study. Therefore, the experimental research should be repeated in large sample size with strong research design.

Key words: Systematic Review, Acute Lower Respiratory Tract Infection, Preventive Infection Intervention Infant, Children

Downloads

How to Cite

สระโสม ช., กลั่นกลิ่น พ., & ไทยาภิรมย์ น. (2013). ประสิทธิผลของวิธีการป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างเฉียบพลัน ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี : การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. Nursing Journal CMU, 38(4), 123–142. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/7791