ปัจจัยทำนายความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาลของผู้ปกครองเด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตติยภูมิ
Keywords:
การจำหน่ายจากโรงพยาบาล, ความพร้อมในการจำหน่าย, เด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลAbstract
ความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาลของผู้ปกครองเด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เป็นดัชนีสำคัญบ่งชี้ความปลอดภัยเมื่อจำหน่ายผู้ป่วยเด็กจากโรงพยาบาลและเป็นตัวกำหนดความสำเร็จของการเปลี่ยนผ่านการดูแลจากโรงพยาบาลกลับสู่บ้าน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาลของผู้ปกครองเด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตติยภูมิ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองของผู้ป่วยเด็กที่อายุน้อยกว่า 18 ปี ที่เข้ารับการรักษาในแผนกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลตติยภูมิ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 120 คน ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2014 ถึงกุมภาพันธ์ 2015 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาล แบบสอบถามคุณภาพการสอนก่อนจำหน่าย และแบบสอบถามการประสานการดูแล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณาและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่าความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาลของผู้ปกครองเด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับสูง คุณภาพการสอนก่อนจำหน่ายและการประสานการดูแลอยู่ในระดับปานกลาง คุณภาพการสอนก่อนจำหน่ายและการประสานการดูแลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาลของผู้ปกครองเด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในระดับสูง (r = 0.87, p < 0.001; r = 0.88, p < 0.001 ตามลำดับ) และยังพบว่าการประสานการดูแลก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาลเป็นตัวทำนายความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาลของผู้ปกครองเด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล (OR = 19.44; 95% CI = 4.09 - 92.46, p < .001) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาลของผู้ปกครองเด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและใช้เป็นแนวทางประกอบการพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตติยภูมิ
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว