ผลของการโคชต่อการปฏิบัติของพยาบาลในการตอบสนองต่อสื่อสัญญาณความเครียดของทารกเกิดก่อนกำหนดขณะได้รับหัตถการที่คุกคามต่อร่างกาย

Authors

  • บัณฑิตา วงค์งาม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
  • มาลี เอื้ออำนวย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

การโค้ช, การปฏิบัติของพยาบาล, สื่อสัญญาณความเครียดของทารกเกิดก่อนกำหนด, หัตถการที่คุกคามต่อร่างกาย

Abstract

          หัตถการที่คุกคามต่อร่างกายก่อให้เกิดความเครียดในทารกเกิดก่อนกำหนด การตอบสนองต่อสื่อสัญญาณความเครียดของทารกเกิดก่อนกำหนดที่เหมาะสมของผู้ดูแล จะช่วยให้ทารกสามารถปรับตัวต่อความเครียดได้ พยาบาลจึงควรมีทักษะในการสังเกตสื่อสัญญาณความเครียดและให้การตอบสนองที่เหมาะสมต่อสื่อสัญญาณความเครียดของทารกเกิดก่อนกำหนด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองชนิดกลุ่มเดียววัดก่อนหลัง เพื่อศึกษาผลของการโค้ชต่อการปฏิบัติของพยาบาลในการตอบสนองต่อสื่อสัญญาณความเครียดของทารกเกิดก่อนกำหนดขณะได้รับหัตถการที่คุกคามต่อร่างกาย ประกอบด้วย การเจาะเลือดและการดูดเสมหะในท่อหลอดลมคอ กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จำนวน 13 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่แบบวัดความรู้ ภาพสไลด์พาวเวอร์พอยท์ คู่มือการปฏิบัติ และแผนการโค้ชการตอบสนองต่อสื่อสัญญาณความเครียดของทารกเกิดก่อนกำหนดขณะได้รับหัตถการที่คุกคามต่อร่างกาย วีดีทัศน์และแบบบันทึกการสังเกตสื่อสัญญาณความเครียดของทารกเกิดก่อนกำหนดขณะได้รับการดูดเสมหะในท่อหลอดลมคอ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสังเกตการปฏิบัติของพยาบาลในการตอบสนองต่อสื่อสัญญาณความเครียดของทารกเกิดก่อนกำหนดขณะได้รับหัตถการที่คุกคามต่อร่างกาย รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม ถึง มิถุนายน พ.ศ. 2556 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติไคสแควร์

          ผลการศึกษาพบว่าภายหลังการโค้ช สัดส่วนการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพของพยาบาลในการตอบสนองต่อสื่อสัญญาณความเครียดของทารกเกิดก่อนกำหนดขณะได้รับการเจาะเลือดและการดูดเสมหะในท่อหลอดลมคอสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การโค้ชทำให้พยาบาลมีการปฏิบัติในการตอบสนองต่อสื่อสัญญาณความเครียดของทารกเกิดก่อนกำหนดขณะได้รับการเจาะเลือด และการดูดเสมหะในท่อหลอดลมคอเพิ่มขึ้นดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้มีการโค้ชโดยผู้เชี่ยวชาญให้แก่พยาบาลในการปฏิบัติการตอบสนองต่อสื่อสัญญาณความเครียดของทารกเกิดก่อนกำหนดขณะได้รับหัตถการที่คุกคามต่อร่างกาย เพื่อให้การพยาบาลทารกเกิดก่อนกำหนดมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

Downloads

Published

2016-03-31

How to Cite

วงค์งาม บ., เอื้ออำนวย ม., & กลั่นกลิ่น พ. (2016). ผลของการโคชต่อการปฏิบัติของพยาบาลในการตอบสนองต่อสื่อสัญญาณความเครียดของทารกเกิดก่อนกำหนดขณะได้รับหัตถการที่คุกคามต่อร่างกาย. Nursing Journal CMU, 43(1), 12–22. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/77915