พฤติกรรมการป้องกันโรคอุจจาระร่วงในทารกของมารดา ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Authors

  • ดาราสุข คำลุนวิไลวงศ์ อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ นครหลวงเวียงจันทน์, ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาวลาว
  • นิตยา ไทยาภิรมย์ รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

พฤติกรรม, การป้องกัน, โรคอุจจาระร่วง, Behavior, Preventing, Diarrhea

Abstract

บทคัดย่อ

ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โรคอุจจาระร่วงเป็นโรคที่รุนเรงและเป็น สาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยและการตายของทารก พฤติกรรมของมารดาในการป็องกันโรคอุจจาระร่วง ในทารกจึงมีความสำคัญ การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคอุจจาระร่วง ในทารกของมาดาในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยใช้แนวคิดการป้องกัน โรคอุจจาระร่วงในเด็กขององค์การอนามัยโลกร่วมกับยูนิเซฟ โครงการควบคุมโรคอุจจาระร่วง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและจากการทบทวนวรรณกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใชใน การศึกษาเลือกแบบเจาะจงเป็นมารดาที่มีบุตรแรกเกิด ถึง 1 ปี มารับบริการตรวจสุขภาพที่แผนก ผู้ป่วยนอกกุมารเวชกรรมรับวัคซีนที่คลินิกสุขภาพเด็กดี และสามารถอ่านและเขียนภาษาลาวได้ ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 4 แห่งจำนวน 674 คนโดยแบ่งตามสัดส่วนของมารดาที่มารับบริการแต่ละ โรงพยาบาล ได้กลุ่มตัวอย่างที่โรงพยาบาลแขวงหลวงพระบาง จำนวน 88 คน โรงพยาบาล แขวงสหวันนเขต จำนวน 176 คน โรงพยาบาลแขวงจำปาสัก จำนวน 188 คน และ โรงพยาบาลมโหสด จำนวน 222 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคอุจจาระร่วง ในทารกของมาดาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

1. พฤติกรรมในการป้องกันโรคอุจจาระร่วงในทารกที่มารดาส่วนใหญ่ปฏิบัติทุกครั้ง มีดังนี้ 1) ด้านภูมิคุ้มกันโรคและโภชนาการ ได้แก่ พาบุตรไปรับวัคซีนตามกำหนดเกณฑ์อายุมาตรฐานของ กระทรวงสาธารณสุข เคยให้บุตรรับประทานนมมารดา เมื่อบุตรอายุน้อยกว่า 6 เดือนไม่ให้ รับประทานอาหารอื่นนอกจากนมและให้บุตรรับประทานอาหารตามมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด 2) ด้านสุขอนามัยนํ้าดื่มนํ้าใช้และสุฃภิบาลอาหาร ได้แก่ ล้างหัวนมมารดาด้วยนํ้าสะอาดก่อนให้บุตรดูด ให้บุตร ดื่มนํ้าที่ต้มเดือดอย่างน้อย 15 นาที ใช้นํ้าต้มเดือดอย่างน้อย 15 นาที ผสมนม ชงนมถูกต้อง ตามคำแนะนำที่ระบุไว้บนบรรจุภัณฑ์ ใช้ฝาครอบขวดนํ้าหรือขวดนม เก็บนมในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 5 องศาเซลเซียส ทันทีหลังจากเตรียมเสร็จ ถ้ายังไม่ให้บุตรรับประทาน ล้างวัตถุดิบจนสะอาด ก่อนนำมาปรุงอาหารให้บุตร เก็บอาหารบุตรไว่ในตู้เย็นหรือตู้กับข้าวหรือมิสิ่งปกปิด ป้อนอาหารที่ปรุง ให้สุกใหม่แก่บุตร อุ่นอาหารให้ร้อนทั่วก่อนให้บุตรรับประทานและไม่ใช้มือป้อนอาหารบุตร 3) ด้านการทำความสะอาดมือของมารดา/ทารกและการทำความสะอาดภาชนะ ได้แก่ ล้างมือด้วยนํ้าและสบู่ก่อนชงนม หลังสัมผัสนํ้ามูก/นํ้าลาย หลังการขับถ่ายและหลังจากทำความสะอาดก้นบุตรหรือสัมผัสอุจจาระบุตร ล้างมือบุตรด้วยนํ้าและสบู่ก่อนให้บุตรหยิบของเข้าปากและหลังบุตรเล่นบนพื้นหรือในสนาม ล้างขวดนมหรือขวดนํ้าด้วยนํ้ายาล้างจานและนํ้าสะอาดทันทีหลังจากใช้เสร็จ ล้างถ้วยชามหรือ เครื่องใช้สำหรับใส่อาหารของบุตรด้วยนํ้ายาล้างจานและนํ้าสะอาดทันทีหลังใช้เสร็จและผึ่งภาชนะ ใส่อาหารของบุตรที่ล้างแล้วให้แห้งก่อนเก็บในที่สะอาด 4) ด้านสุขอนามัยสิ่งแวดล้อม ได้แก่ กำจัดอุจจาระบุตรโดยการทิ้งลงในโถส้วม กำจัดขยะในบ้านโดยการทิ้งลงลังขยะที่มืฝาปิด ทำความสะอาดพื้นบ้านหรือบริเวณพื้นที่เด็กเล่นด้วยนํ้าที่สะอาดก่อนให้เด็กเล่นและไม่ให้เด็กเล่น บนพื้นดิน

2. พฤติกรรมในการป้องกันโรคอุจจาระร่วงในทารกที่มารดาส่วนใหญ่ปฏิบัติบางครั้งมืดังนี้ 1) ด้านการทำความสะอาดมือของมารดา/ทารกและการทำความสะอาดภาชนะ ได้แก่ ล้างมือด้วยสบู่ ก่อนให้นมบุตร ก่อนเตรียมอาหารเสริมให้บุตร ก่อนให้อาหารเสริมบุตร หลังให้นมหรือป้อนอาหาร เสริมบุตร และล้างมือให้บุตรด้วยนํ้าและสบู่ก่อนที่จะให้บุตรรับประทานอาหารหรือหยิบอาหาร 2) ด้านสุขอนามัยสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ทำความสะอาดของเล่นและตากให้แห้งหลังให้บุตรเล่นซักผ้าที่ใช้ถูพื้นด้วยผงซักฟอกและผึ่งแดดให้แห้งหลังการทำความสะอาดพื้น

3. พฤติกรรมในการป้องกันโรคอุจจาระร่วงในทารกที่มารดาส่วนใหญ่ไม่เคยปฏิบัติ มีดังนี้ 1) ด้านการทำความสะอาดมือของมารดา/ทารกและการทำความสะอาดภาชนะ ได้แก่ ล้างมือ ด้วยนํ้าและสบู่ให้บุตรด้วยนํ้าและสบู่ภายหลังการเล่นของเล่น และ ต้มขวดนมหรือขวดนํ้าในนํ้าเดือด 10 นาที หลังล้างสะอาด

จากผลการศึกษาแสดงว่า มารดาควรได้รับการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพและการป้องกัน โรคอุจจาระร่วงในทารกโดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมที่ที่มารดาส่วนใหญ่ปฏิบัติเป็นบางครั้งและไม่เคย ปฏิบัติ

คำสำคัญ: พฤติกรรม การป้องกัน โรคอุจจาระร่วง

 

Abstract

In Lao people’s democratic republic diarrhea is a severe disease and major cause of morbidity and mortality in infants. The mother’s involvement in the infant’s diarrhea prevention is very important. This study aimed to investigate maternal behaviors in preventing infant diarrhea, Lao people’s democratic republic. The sample was purposively selected using two criteria: mothers who’s had infant, and can read and write Lao language. The 674 samples were recruited when they attended outpatient pediatric department and well baby clinics of 4 hospitals, based on the proportion of maternal attends, including 88 from Luang Prabang province hospital, 176 from Savannaket province hospital, 188 from Champasack province hospital and 222 from Mahosot hospital. Research instruments were maternal behaviors in preventing infant diarrhea scale developed by the researcher. Data were analyzed by using descriptive statistics.

The results of study

1. Maternal behaviors in preventing infant diarrhea that most of the mothers always performed were: 1) Immunization and nutrition dimension through child vaccinations, breastfeeding, not giving any food except milk to the child under 6 months, and giving complementary food following the standard of Ministry of Public Health. 2) Drinking water and food hygiene dimension as washing mother’s nipple with clean water before breastfeeding, boiling water for 15 minutes for feeding child and for mixing formula milk, preparing formula milk by following the instructions tag on the box, using lids to cover milk bottle or water bottle, storing formula milk in refrigerator with temperature below 5 Celsius immediately after prepared if do not feeding child, washing raw ingredients thoroughly before cooking child’s food, storing child’s food in refrigerator or cupboard or using lids to cover, feeding newly cooked food to child and reheating food before giving to child and not using hand to feeding child. 3) Mother/child’s hand washing and utensils cleaning dimension as washing mother’s hands with soap and water before preparing formula milk, after touching snot/saliva, after defecation or using toilet and cleaning child’s bottom or touching feces; washing child’s hands before taking food, and after playing on the floor or ground; and washing feeding bottle, water bottle, utensils or container with dishes cleaning liquid immediately after used, and putting in dry and clean place. 4) Environment sanitary dimension as disposing of the child’s feces by removing in to the toilet, disposing of household wastes by dumping them in well covered bin, cleaning floor or play grounds by clean water before child play, and not allowing the child to play on the ground.

2. Maternal behaviors in preventing infant diarrhea mothers sometimes performed were: 1) Mother/child’s hand washing and utensils cleaning dimension as washing hands with soap and water before breastfeeding, before preparing supplementary food, before feeding supplementary food and after feeding formula milk or supplementary food for child; and washing child’s hands with soap and water before eating or taking food. 2) Environment sanitation dimension as washing and drying toys after child playing, and washing mop by detergent and dry in the รนท after cleaning the floor.

3. Maternal behaviors in preventing infant diarrhea that most of the mothers had never performed were: 1) Mother/child’s hand washing and utensils cleaning dimension as washing child’s hand after playing toys and boiling milk bottle or water bottle in hot water for 10 minutes after cleaning.

The results of study indicates that maternal behaviors perform in preventing infant diarrhea should be enhanced especially the behaviors that were not performed and sometimes performed by most of the mothers.

Key words: Behavior, Preventing, Diarrhea

Downloads

How to Cite

คำลุนวิไลวงศ์ ด., ไทยาภิรมย์ น., & กลั่นกลิ่น พ. (2013). พฤติกรรมการป้องกันโรคอุจจาระร่วงในทารกของมารดา ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. Nursing Journal CMU, 38(4), 143–158. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/7792