การทบทวนอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการจัดการอาการเหนื่อยล้าในผู้คลอด
Keywords:
การทบทวนอย่างเป็นระบบ, การจัดการอาหารเหนื่อยล้า, ผู้คลอดAbstract
อาการเหนื่อยล้าในระยะคลอดส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ตลอดจนส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์และทารกแรกเกิด ดังนั้นผู้คลอดที่มีอาการเหนื่อยล้าจำเป็นต้องได้รับการจัดการอาการเหนื่อยล้าอย่างมีประสิทธิภาพ การทบทวนอย่างเป็นระบบครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับวิธีการจัดการอาการเหนื่อยล้าในระยะคลอด จากรายงานการวิจัยเชิงปริมาณที่รายงานระหว่างปี พ.ศ. 2541 ถึง 2556 โดยใช้กระบวนการทบทวนอย่างเป็นระบบของสถาบันโจแอนนาบริกส์ (Joanna Briggs Institute [JBI], 2011) ผู้วิจัยทำการสืบค้นด้วยมือ ติดต่อกับนักวิจัยโดยตรง และสืบค้นจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกทางการแพทย์และพยาบาล เช่น CINAHL, PubMed, ScienceDirect, Wiley online library, และ Google Scholar เป็นต้น จากนั้นคัดเลือกงานวิจัย ประเมินคุณภาพงานวิจัย และสกัดข้อมูลโดยผู้วิจัยและอาจารย์ที่ปรึกษาแยกกันประเมินอย่างอิสระ ผลการสืบค้นพบรายงานวิจัยจำนวน 12 เรื่อง ถูกคัดออก จำนวน 1 เรื่องเนื่องจากไม่สามารถเข้าถึงเอกสารฉบับสมบูรณ์ งานวิจัยที่นำเข้าสู่การทบทวนมีจำนวน 11 เรื่อง เป็นงานวิจัยเชิงทดลองแบบมีกล่มุ ควบคุมและมีการส่มุ ตัวอย่างเข้ารับการทดลองจำนวน 8 เรื่อง และแบบกึ่งทดลองจำนวน 3 เรื่อง จากการวิเคราะห์พบว่ารายงานวิจัยไม่สามารถวิเคราะห์แบบเมต้าได้ จึงใช้การวิเคราะห์สรุปเชิงเนื้อหา
การจัดการอาการเหนื่อยล้าในผู้คลอดที่มีผลช่วยลดอาการเหนื่อยล้าพบ 3 วิธี คือ 1) การเบ่งคลอด 2) การใช้โปรแกรมการจัดการอาการเหนื่อยล้าที่ประกอบด้วย การสนับสนุนทางการพยาบาล การจัดท่าคลอดร่วมกับการเบ่งคลอด และ 3) การฟังเพลง
บทสรุปหลักฐานเชิงประจักษ์นี้มีข้อเสนอแนะถึงวิธีการที่มีประสิทธิภาพเกี่ยวกับการจัดการอาการเหนื่อยล้าในผู้คลอด ได้แก่ การเบ่งคลอด การใช้โปรแกรมการจัดการอาการเหนื่อยล้า และการฟังเพลง เพื่อให้ผู้คลอดสามารถจัดการอาการเหนื่อยล้าอย่างเหมาะสม สำหรับด้านการวิจัยควรมีการศึกษาวิจัยเชิงทดลองเกี่ยวกับการจัดการอาการเหนื่อยล้าเพิ่มเติมหรือทำวิจัยซ้ำ เพื่อยืนยันความน่าเชื่อถือตลอดจนขยายองค์ความรู้และเพิ่มเติมข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์เมต้าในอนาคต
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว