ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงของพนักงานทำความสะอาด โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ
Keywords:
ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงาน, ภาวะสุขภาพ, พนักงานทำความสะอาด, โรงพยาบาลระดับตติยภูมิAbstract
พนักงานทำความสะอาดในโรงพยาบาล เป็นกลุ่มหนึ่งที่เสี่ยงต่อการสัมผัสอันตรายจากการทำงานส่งผลต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยง ของพนักงานทำความสะอาดโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ จำนวน 160 ราย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากสภาพแวดล้อมการทำงานที่สำคัญของกลุ่มตัวอย่างได้แก่ปัจจัยคุกคามสุขภาพด้านเคมี คือ น้ำยาที่ใช้ทำความสะอาด (ร้อยละ 88.80) ปัจจัยคุกคามสุขภาพด้านการยศาสตร์ คือ ท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ การก้ม เงยศีรษะ (ร้อยละ 71.30) และการบิดเกร็งข้อมือ (ร้อยละ 64.40) ส่วนปัจจัยคุกคามสุขภาพด้านจิตสังคม คือ เสี่ยงต่ออันตรายที่จะเกิดจากการทำงาน (ร้อยละ 62.50) สำหรับภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงในส่วนความเจ็บป่วยที่อาจเกี่ยวเนื่องจากการทำงานที่พบบ่อย ได้แก่ อาการปวดเอวหรือหลังส่วนล่าง (ร้อยละ 68.70) ปวดหลัง (ร้อยละ 66.30) และปวดไหล่ (ร้อยละ 60.60) ความเครียดจากการทำงาน (ร้อยละ 66.20) และอาการน้ำมูกไหล ไอจาม (ร้อยละ 60.60) ส่วนการบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาพบเพียงร้อยละ 13.80 จากวัตถุ/สิ่งของกระแทก/ชน (ร้อยละ 50.00) ลักษณะเป็นการเคล็ด ขัดยอก ฟกช้ำ (ร้อยละ 91.70) อวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บ คือ บริเวณข้อมือ (ร้อยละ 29.20)
ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า พยาบาลอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญของการเฝ้าระวังทางสุขภาพ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านความเสี่ยงต่อสุขภาพ ตลอดจนพัฒนาโปรแกรมการจัดการกับอาการปวดระบบโครงร่างกล้ามเนื้อและความเครียดจากการทำงาน เพื่อส่วนหนึ่งเป็นการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานทำความสะอาดในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว