ภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานของแรงงานนอกระบบเฟอร์นิเจอร์ไม้ อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่

Authors

  • จารุนิล ไชยพรม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วรันธรณ์ จงรุ่งโรจน์สกุล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

ปัจจัยอันตรายจากการทำงาน, ภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงาน, แรงงานนอกระบบ, เฟอร์นิเจอร์ไม้

Abstract

          แรงงานนอกระบบอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้เป็นกลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพจากสภาพการทำงานที่เป็นอันตรายต่ำกว่ามาตรฐาน การศึกษาเชิงพรรณนา (descriptive study) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานของแรงงานนอกระบบเฟอร์นิเจอร์ไม้ อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ จำนวน 180 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและทดสอบความเชื่อมั่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

          ผลการศึกษาพบว่า การเจ็บป่วยที่อาจเกี่ยวเนื่องกับการสัมผัสปัจจัยอันตรายจากการทำงานที่สำคัญ คือ อาการปวดระบบโครงร่างกล้ามเนื้อ ได้แก่ อาการปวดเอว (ร้อยละ 82.78) อาการปวดหลัง (ร้อยละ 70.56) รวมทั้งมีความเครียดจากงาน (ร้อยละ 51.67) ส่วนการบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากงานในช่วง 3 เดือน ที่ผ่านมาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเคยได้รับบาดเจ็บจากการทำงานร้อยละ 44.44 ซึ่งเป็นการบาดเจ็บเล็กน้อย (ร้อยละ 86.57) สาเหตุของการบาดเจ็บ ได้แก่ วัตถุหรือสิ่งของกระแทก/ชน (ร้อยละ 47.77) และถูกอุปกรณ์ ของมีคม บาด ทิ่มแทง (ร้อยละ 36.56) สำหรับอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บ คือ มือ นิ้วมือ (ร้อยละ 36.57) ผล การศึกษาชี้ให้เห็นว่าพยาบาลอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมรวมทั้งทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ควรตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินการเฝ้าระวังสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานอย่างเป็นระบบ ตลอดจนพัฒนากลวิธีการจัดการอาการปวดระบบโครงร่างกล้ามเนื้อและความเครียดจากงาน รวมทั้งสื่อสารความเสี่ยงด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานสู่คุณภาพชีวิตในการทำงานของคนงานแรงงานนอกระบบเฟอร์นิเจอร์ไม้

Downloads

Published

2016-03-31

How to Cite

ไชยพรม จ., จันทร์ประสิทธิ์ ช., & จงรุ่งโรจน์สกุล ว. (2016). ภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานของแรงงานนอกระบบเฟอร์นิเจอร์ไม้ อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่. Nursing Journal CMU, 43(1), 70–83. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/78084