บรรยากาศของทีมและคุณภาพการพยาบาลของพยาบาลในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ประเทศมองโกเลีย
Keywords:
บรรยากาศของทีม, คุณภาพการพยาบาล, โรงพยาบาลตติยภูมิAbstract
บรรยากาศของทีมในองค์กรที่ให้บริการด้านสุขภาพเป็นปัจจัยสำคัญในการให้บริการทางการพยาบาลที่มีคุณภาพแก่ผู้ป่วย การวิจัยแบบพรรณนาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายบรรยากาศของทีมคุณภาพการพยาบาล และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศของทีมและคุณภาพการพยาบาลของพยาบาลในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิของประเทศมองโกเลีย กลุ่มตัวอย่างได้แก่พยาบาลจำนวน 234 คนที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 3 แห่ง ในประเทศมองโกเลีย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามบรรยากาศของทีม (TCI) และแบบสอบถามคุณภาพการพยาบาล (GNCS) โดยแบบสอบถาม TCI และ GNCS ได้รับการตรวจสอบความตรงโดยผู้พัฒนาเครื่องมือได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของคอนบาคของแบบวัด TCI และ แบบวัด GNCS เท่ากับ .94 และ .93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและหาความสัมพันธ์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ลำดับที่สเปียร์แมน
ผลจากการวิจัยมีดังนี้
1. องค์ประกอบของบรรยากาศของทีมซึ่งได้แก่ วัตถุประสงค์ของทีม การมีส่วนร่วมในทีมการมุ่งเน้นงาน และการสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ตามการรับรู้ของพยาบาลอยู่ในระดับปานกลาง
2. พยาบาลรับรู้คุณภาพการให้การพยาบาลโดยรวม และด้านคุณลักษณะของบุคลากร กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสิ่งจำเป็นสำหรับการดูแลและสิ่งแวดล้อมทางกายภาพในระดับสูง แต่รับรู้ด้านความก้าวหน้าของกระบวนการพยาบาลและความร่วมมือกับญาติในระดับปานกลาง
3. บรรยากาศของทีมแต่ละด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับคุณภาพการพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ผลการศึกษาครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ที่สำคัญต่อผู้บริหารทางการพยาบาลในการที่จะเข้าใจบรรยากาศของทีมและคุณภาพการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาล นอกจากนี้ผลการศึกษายังสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนากลยุทธ์ในการปรับปรุงบรรยากาศของทีมที่จะช่วยเพิ่มคุณภาพการพยาบาลในโรงพยาบาลทั่วไปที่ให้บริการระดับตติยภูมิในประเทศมองโกเลีย
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว